วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ต่อศักดิ์ ศศิประภายิม



ชื่อนักมวย
: ต่อศักดิ์ ศศิประภายิม

ชื่อจริง:
ต่อศักดิ์ ผ่องสุภา

วันเดือนปีเกิด: 23 พ.ย. 2511

ภูมิลำเนา:
จ. กรุงเทพ

สถิติ:
28-3-0; 18KO

เกียรติยศ
:
แชมป์ซูเปอร์ฟลายเวตฟลายเวต WBC International (2532-2536)
แชมป์จูเนียร์เฟเธอร์เวต
WBF (2539-2540)


ต่อศักดิ์เป็นลูกชายแท้ๆของ
"หมวดเจ้าน้ำตา" ไฉน ผ่องสุภา แห่งค่ายโอสถสภา เขาเริ่มต้นชกมวยสมัครเล่นมาก่อนที่จะเทิร์นโปรชกมวยอาชีพ ต่อศักดิ์โชว์ฟอร์มชนะน็อครวด 7 ครั้ง ก่อนจะพลาดท่าพ่ายคะแนน 10 ยกให้กับทาง ถนอมศักดิ์ ศิษย์โบ๊เบ๊ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น เถลิงศักดิ์ ศิษย์โบ๊เบ๊ และ เขาใหญ่ มหาสารคาม ก่อนที่จะได้ชิงแชมป์จูเนียร์แบนตั้มเวต WBA 2 ครั้ง แต่ไม่สำเร็จ แพ้คะแนนทั้ง 2 ครั้ง) แต่เขาก็กลับมากู้ชื่อได้ในการชกไฟต์ต่อมา จากนั้นก็สบโอกาสขึ้นชิงแชมป์ซูเปอร์ฟลายเวตฟลายเวต WBC International ที่ว่างอยู่กับทาง ดาดอย อันดูจาร์ จากอินโดนีเซียทีเวทีลุมพินี เมื่อวันที่ 29 .. 2532 แลเป็นฝ่ายเอาชนะน็อคในยกที่ 8 คว้าแชมป์มาครองได้สำเร็จ หลังจากนั้นก็ชกชนะรวดอีก 7 ครั้ง เป็นการป้องกันตำแหน่ง 2 ครั้ง กับอุ่นเครื่อง 5 ครั้ง ในจำนวนนั้นเขาเอาชนะคะแนน รอมมี่ นาวาร์เร็ตต้ แชมป์ OPBF รุ่นเดียวกันในการชกนอกรอบกำหนด 10
ยกได้ด้วย

ต่อศักดิ์ได้โอกาสขึ้นชิงแชมป์ซูเปอร์ฟลายเวต
WBC ของจริงกับทาง "ไอ้ผมม้า" มูน ซัง กิล เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2534 ที่กรุงโซล แต่ก็ต้านแรงบุกของแชมป์เจ้าถิ่นไม่ไหวพ่าย TKO ยก 6 ชวดแชมป์ไปอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ตามเขากลับมาชกอีก 6 ครั้ง เป็นการป้องกันแชมป์เงาที่ครองอยู่ 1 ครั้ง กับนอกรอบ 5 ครั้ง ก่อนจะพลาดท่าพ่ายน็อคยก 8
เรย์นันเต้ จามิลี่ และได้ถูกปลดออกจากตำแหน่งแชมป์เงาในเวลาต่อมา

อย่างไรก็ตามต่อศักดิ์หยุดชกไปเกือบปีก็กลับมาชกชนะอีก
2 ครั้ง ก็ได้โอกาสขึ้นชิงแชมป์จูเนียร์เฟเธอร์เวต WBF กับเจ้าของตำแหน่งชาวออสเตรเลีย โทนี่ เว็บบี้ย์ (ผู้พิชิต ฟ้าสั่ง สามเคแบตเตอร์รี่ย์ ในการชิงแชมป์ที่ว่าง) เมื่อวันที่ 11 .. 2539 และต่อศักดิ์ก็เอาชนะคะแนน 12 ยกได้เป็นแชมป์ดังใจนึก เขาป้องกันตำแหน่งเอาไว้ได้ 2 ครั้ง ก็หยุดชกแขวนนวมไปถึง 2 ปีกว่าๆ จนแชมป์ถูกปลดไป ทั้งนี้เพราะสถาบัน WBF ถูกบอยคอตจากโปรโมเตอร์ชาวไทยแล้วในเวลานั้น ต่อศักดิ์กลับมาชกอีกครั้งในปี 2542 เอาชนะคะแนน คิด ซาร์รี่ย์ ไปได้ในกำนด 10
ยก จากนั้นก็แขวนนวมถาวร หันไปประกอบธุรกิจนำมวยไทยไปชกยังต่างประเทศมาจนทุกวันนี้

(ต้นฉบับภาพประกอบจากภาพขาวดำในคอลัมน์ "ย้อนตำนานแชมปโลกไทย" นสพ.มวยสยามรายวัน ฉบับที่ 4205 วันที่ 24 มีนาคม 2548)