วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เกียรติชัย สิงห์วังชา



ชื่อนักมวย: เกียรติชัย สิงห์วังชา

ชื่อจริง: อาทิตย์ ประดิษฐ์ผล

วันเดือนปีเกิด: 17 ตุลาคม 2525

ภูมิลำเนา: ประทิล, ชุมพร

สถิติ: 26-5-0; 16KO

เกียรติยศ:
แชมป์ซูเปอร์ไลต์เวตเฉพาะกาล PABA (2546-2547)
แชมป์ซูเปอร์ไลต์เวต PANA (2547)
แชมป์ซูเปอร์เวลเตอร์เวต WBF (2551-ปัจจุบัน)


เกียรติชัยเป็นนักมวยธรรมดาๆ ที่ขึ้นชกชนะมา 13 ครั้งรวดในชื่อค่าย "13 เหรียญทาวเวอร์" ภายใต้การสร้างสรรค์ของ "จอมวันทาสิบทิศ" ใหม่ เมือง คอน ก่อนที่จะได้รับโอกาสให้เดินทางไปชิงแชมป์ซูเปอร์ไลต์เวตเฉพาะกาล PABA เมื่อวันที่ 19 กรกรฎาคม 2546 และก็เอาชนะน็อค เฟร็ดดี้ ฟาอุต ไปแค่ยกแรก ได้ครองแชมป์สบายๆ ในการชกที่สระบุรี

เขาอุ่นเครื่องเพียงครั้งเดียวก็ได้ถูกส่งให้ไปชิงแชมป์ตัวจริงที่ว่างกับทาง อันโดโน่ โจโยเตอร์ต้า ที่อินโดนีเซีย และเกียรติชัยก็โชวฟอร์มถลุงนักชกเจ้าถิ่นพ่าย TKO ไปในยกที่ 11 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2547 กลายเป็นแชมป์โดยสมบูรณ์แบบ แต่ก็ครองตำแหน่งได้แค่ 6 เดือน เมื่อกลับไปป้องกันแชมป์ที่อินโดนีเซียแล้วพ่ายคะแนน ดาอูดี้ย์ บาฮารี ลูกโปรโมเตอร์ผู้จัดศึกไปแบบไม่เป็นเอกฉันท์ค้านสายตา เมื่อวันที่ 25 กันยายนปีเดียวกัน

ปีต่อมาเขาได้โอกาสบินไปชิงแชมป์ IBF Pan Pacific รุ่นจูเนียร์เวลเตอร์เวตที่ว่าง กับ เลิฟมอร์ น'ดู นักชกระดับโลกที่ออสเตรเลีย และก็พ่ายน็อคไปแค่ยก 4 เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2548 อย่างน่าเสียดาย

เกียรติชัยกลับมาอุ่นเครื่องอีก 2 ครั้งชนะรวด ก็ได้โอกาสไปชิงแชมป์ IBF Pan Pacific รุ่นเวลเตอร์เวตที่ว่าง
กับ แชด เบ็นเน็ตต์ ที่ออสเตรเลียอีกครั้ง แต่คราวนี้โดนถล่มพ่ายน็อคไปเพียงยกแรก เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2549

เกียรติชัยทำท่าจะแย่ เมื่อพ่ายคะแนน สถาพร สิงห์วังชา อีกในไฟต์ถัดมา แต่แล้วเขาก้ได้รับการสนับสนุนต่อในสีเสื้ "สิงห์วังชา" นี้ขึ้นชกชนะรวดอีก 7 ไฟต์ ก่อนที่จะเดินทางไปพ่าย KO8 ให้กับ วิตาลี่ ดิเมียเนนโก้ ที่คาซัคสถาน ชิงแชมป์เวลเตอร์เวต ABCO, WBO Asia-Pacific, และ PABA ไม่สำเร็จ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2550

แต่แล้วเกียรติชัยก็สร้างเซอร์ไพร้ เมื่อได้โอกาสเดินทางไปชิงแชมป์ซูเปอร์เวลเตอร์เวต WBF ที่ว่างกับขวัญใจเจ้าถิ่น ฮัมซ่า อิซซ่า ดีกรีแชมป์เวลเตอร์เวต WBF ที่สละตำแหน่งข้ามรุ่นมาชิงแชมป์รุ่นใหญ่กว่า โดยการนำทัพไปโดย คุณทัศนุ อัศวะภพ หรือ "หนุ่มจรัล" แมทช์เมเกอร์ชาวไทย ซึ่งนักชกทั้ง 2 ต่างพร้อมใจกันชั่งน้ำหนักก่อนการชก 1 วันได้ 66.7 กิโลกรัมหรือ 147 ปอนด์เศษเท่านั้น เบากว่าพิกัดไปเกือบ 7 ปอนด์เต็มๆทั้งคู่ โดยแมทช์นี้จัดขึ้นภายใต้การดูแลของกระทรวงกีฬาและพลศึกษา (Ministry of Sport and Physical Education) ของคาเมรูนเลยทีเดียว

การชกในไฟต์นี้ตามรายงานระบุว่างนักชกหนุ่มไทยเป็นฝ่ายใช้พลังกำปั้นอันหนักหน่วงจวกเอาอิซซ่าร่วงลงไปนับทุกยก และในที่สุดนักชกวัยเบญจเพสของไทยก็ถลุงเอาขวัญใจเจ้าถิ่นลงไปกองกับพื้นเป็นครั้งที่ 6 ทำให้ มร. อัลเฟรด อัสซาโร่ กรรมการผู้ห้ามบนเวทีทนดูไม่ไหว ต้องจับทางอิซซ่าพ่าย TKO ไปในยกที่ 5 ชนิดที่ไม่มีใครคาดคิดว่าขวัญใจเจ้าถิ่นจะพ่ายแพ้ในไฟต์นี้ อย่างไรก็ตามเกียรติชัยนั้นยังได้รับการปรบมือจากกองเชียร์เจ้าถิ่นอย่างกึกก้อง และยังมีแฟนๆมวยจำนวนหนึ่งได้ตามมาสวมกอดและขอถ่ายรูปแชมป์คนใหม่อีกด้วย นับได้ว่าแฟนมวยคาเมรูนนั้นดูกีฬาอย่างมีน่ำใจนักกีฬามากทีเดียว

(ต้นฉบับภาพประกอบจาก WBF Official Website)

โอเล่ห์ดง กระทิงแดงยิม



ชื่อนักมวย: โอเล่หดง กระทิงแดงยิม

ชื่อจริง: กิตติพงษ์ ใจกระจ่าง

วันเดือนปีเกิด: 17 กรกฎาคม 2528

ภูมิลำเนา: รัษฎา, ตรัง

สถิติ: 32-0-0; 12KO

เกียรติยศ:
แชมปมินิมั่มเวต ABCO (2545-2548)
แชมป์มินิมั่มเวตเยาวชน WBC (2545-2550)
แชมป์มินิมั่มเวต WBC (2550-ปัจจุบัน)


โอเล่ห์ดง ศิษย์เสมอชัย นักมวยไทยธรรมดาๆคนหนึ่ง ตัดสินใจขึ้นชกมวยสากลอาชีพในชื่อ โอเล่ห์ดง กระทิงแดงยิม ในปี 2545 และเพียงการชกไฟต์ที่ 3 เขาก็สามารถคว้าแชมป์มินิมั่มเวตเยาวชนสภามวยโลกที่ว่างมาครองได้สำเร็จ พร้อมทั้งได้รับการสถาปนาเป็นแชมป์ของ
ABCO รุ่นนี้ไปพร้อมๆกัน เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2545 ด้วยการเอาชนะคะแนน อาร์มัน เดอ ลา ครู๊ซ นักชกชาวชาวฟิลิปปินส์ จากนั้นก็ป้องกันตำแหน่งเอาไว้ดุถึง 12 ครั้ง ก่อนจะประกาศสละแชมป์ของ ABCO
ในปี 2548

เขาป้องกันตำแหน่งแชมป์เยาวชนเอาไว้ได้อีก 4 ไฟต์และมีอันดับโลกสูงถึงอันดับที่ 1 ในรุ่นมินิมั่มเวตของ
WBC
และก็ได้รับโอกาสให้ขึ้นชกตัดเชือกกับ โอมาร์ โซโต้ รองเบอร์ 2 จากเปอร์โตริโก้ เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2549 ซึ่งก็สามารถเอาชนะคะแนนไปได้สำเร็จ แม้ว่าจะไม่สวยงามเท่าไหร่นัก ทำให้ได้สิทธิ์ในการขึ้นชิงแชมป์โลกรุ่นนี้กับ อีเกิ้ล เด่น จุลพันธ์ เจ้าของตำแหน่งชาวไทยมวยสร้างของญี่ปุ่นในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2550

ซึ่งโอเล่ห์ดงก็ไม่ทำให้ผู้สนับสนุนผิดหวัง เมื่อใช้สไตล์ตีหัวเข้าบ้านทำคะแนนเข้าตากรรมการทั้ง 3 ท่าน ก่อนที่จะเอาชนะคะแนนนักชกรุ่นพี่ไปเฉียดฉิว 115-114, 115-113, และ 117-112 กลายเป็นแชมป์โลกชาวใต้คนแรกอย่างสมภาคภูมิ

หลังจากนั้นเขาได้ขึ้นชกอุ่นเครื่องชนะน็อค 1 ครั้ง ก่อนที่จะขึ้นป้องกันแชมป์หนแรกเอาชนะ KO9 จุนอิชิ เอบิสึโอขะ ผู้ท้าชิงชาวญี่ปุ่น ที่จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 18 มิถุนายนที่ผ่านมา

(ภาพประกอบจากสำนักข่าวต่างประเทศ)

วินยู ภราดรยิม



ชื่อนักมวย:
วินยู ภราดรยิม

ชื่อจริง:
จิรวดี สีสุข

วันเดือนปีเกิด:
28 สิงหาคม 2526

ภูมิลำเนา:
พิษณุโลก

สถิติ:
7-2-1; 1KO

เกียรติยศ:
แชมป์อะตอมเวต WBC Female (2550-2551)


วินยูเป็นอดีตนักชกเหรียญทองมวยสากลสมัครเล่นระดับมหาวิทยาลัย ต่อมาได้หันเหมาเอาดีทางมวยไทยหญิงอีกด้วย ช่วงแรกของการชกมวยเธอใช้ชื่อว่า ยูฟ่า ภราดรยิม และเมื่อเธอหันมาชกสากลอาชีพหญิงภายใต้การสนับสนุนของ "วันทรงชัย โปรโมชั่น" เมื่อปี 2549 ไฟต์แรกเธอก็ถูกประกบให้ขึ้นชกกับอดีตผู้ท้าชิงแชมป์มินิมั่มเวต
WBC Female อย่าง น้องใหม่ ส.สิริพร และเธอก็สามารถเอาชนะคะแนนน้องใหม่ไปได้ในกำหนด 4 ยกอย่างเหนือความคาดหมาย แต่ไฟต์ที่ 2 ของเธอก็ต้องพบกับ แซมซั่ม ส.สิริพร อดีตผู้ท้าชิงแชมป์มินิมั่มเวต WBC Female อีกราย แต่ครั้งนี้เธอต้องตกเป็นฝ่ายพ่ายคะแนนไปในกำหนด 6 ยก และต่อมา แซมซั่มคนนี้ก็ได้กลายเป็นแชมป์โลกมวยหญิงคนแรกของไทย เมื่อคว้าแชมป์ไลต์ฟลายเวต WBC Female
มาครองได้ในต้นปี 2550

แม้ว่าจะพ่ายแพ้ แต่วินยูก็ยังได้รับการผลักดันต่อ โดยคราวนี้เธอได้โอกาสขึ้นชกตัดเชือกเพื่อหาผู้ชนะไปชิงแชมป์อะตอมเวต
WBC Female
ที่ว่างอยู่ โดยต้องพบกับ นักชมากประสบการณ์อย่าง ลิลี่ ราชประชายิม โดยวินยูพลาดถูกลิลลี่จ้วงลงไปนับ 8 ในยกที่ 4 ก่อนที่จะหันมาใช้ฝีมือล้วนๆจนทำให้ลิลลี่ทำอะไรไม่ถนัด และคว้าชัยชนะไปได้ด้วยคะแนนในกำหนด 8 ยก

หลังจากไฟตนั้นเธอก็ขึ้นลับหมัดอีกหนเมื่อเดือนพฤาภาคม 2550 และก็เอาชนะ
TKO5
แพนด้า อ.ยุทธชัย ลงได้สำเร็จ และเมื่อเธอได้ขึ้นชิงแชมป์โลกของจริงในไฟต์ต่อมากับทาง โมโม่ โคเซขิ นักชกสาวญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2550 ที่อำเภอผักไฟ่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เธอก็คว้าชัยชนะมาได้แบบเฉียดฉิว แต่ฟอร์มยังไม่ดีนักเพราะดูเกร็งๆมากไปสักหน่อย ทำให้เธอกลายเป็นแชมป์โลกมวยหญิงคนที่ 2 ของประเทศไทยไปในที่สุด

หลังจากได้แชมป์โลกมาครองวินยูก็ขึ้นอุ่นเครื่องชนะรวด 4 ครั้ง แต่ 1 ในนั้นเป็นการชกกับนักมวชายคือ เจริญชัย ส.รุ่งธนะชัย จึงไม่ได้รับการรับรองสถิติการชกไฟต์นี้

ล่าสุดเธอบินไปให้โมโม่แก้มือที่ญี่ปุ่น มเอวันที่ 11 สิงหาคม 2551 แต่ไฟต์นี้วินยูโดนหัวของผู้ท้าชิงโขก 2 ครั้งอย่างแรง ครั้งสุดท้ายเธอถึงร่วงลงไปลุกไม่ขึ้น แพ้น็อคไปแบบน่าเสียดายแค่ยกที่ 2 เท่านั้น และแม้ว่าทีมงานจะประท้วงไปทาง WBC แต่ก็ไม่เป็นผล

(ต้นฉบับภาพประกอบจาก หนังสือพิมพ์มวยสยามรายวัน ซอคเกอร์ ทูเดย์)

แซมซั่น ส.สิริพร



ชื่อนักมวย:
แซมซั่น ส.สิริพร

ชื่อจริง:
ศิริพร ทวีสุข

วันเดือนปีเกิด:
26 เมษายน 2526

ภูมิลำเนา:
ลพบุรี

สถิติ:
11-2-0; 2KO

เกียรติยศ:
แชมป์ไลต์ฟลายเวต WBC Female (2550-ปัจจุบัน)


“แซมซั่น ส.สิริพร” มีชื่อและนามสกุลจริงว่า “ศิริพร ทวีสุข” มีภูมิลำนำอยู่ที่จังหวัดลพบุรี เกิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2526 จะมีอายุครบ 24 ปีบริบูรณ์ในเดือนเมายนที่จะถึงนี้ บิดา-มารดา ชื่อนายมานพ ทวีสุข และนางทรงศิลป ขำศรี มีพี่ชาย 1 คน และพี่สาว 1 คน บิดา-มารดา เสียชีวิตทั้งคู่ ตั้งแต่ แซมซั่น (ศิริพร) ยังแบเบาะ ญาติผู้ใหญ่ที่เหลือคือยาย ยายจึงนำไปเลี้ยงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จบการศึกษาประถมการศึกษาปีที่ 6 ที่โรงเรียนแถวบ้าน และก็ไม่ได้เรียนต่อ ไม่ทำงานการใดๆ จนกระทั่งถูกเพื่อนให้ลองเสพยาเสพติดในเบื้องต้น และต่อมาก็กลายมาเป็นผู้ขาย จนกระทั่งถูกเจ้าหน้าที่บ้านเมืองเข้าทำการจับกุมพร้อมของกลางยาบ้าจำนวน 2,000 เม็ด ถูกศาลตัดสินลงโทษให้ถูกจำขัง เป็นเวลา 10 ปี โดยครั้งแรกรับโทษอยู่ในเรือนจำจังหวัดลพบุรี เป็นเวลา 2 ปี จากนั้นจึงถูกส่งตัวมาทัณฑสถานบำบัดพิเศษหญิง จนถึงปัจจุบัน ซึ่งทั้งสองแห่ง แซมซั่น ได้ถูกจำขังรวมกันมาแล้วเป็นเวลาถึง 8 ปีเต็ม

มาอยู่ที่ทัณฑสถานใหม่ๆ ทางเรือนจำก็ยังไม่ได้ทำการคัดเลือกให้เข้าหน่วยงานใดๆ จนกระทั่งผ่านไประยะหนึ่งจึงได้สมัครเข้าทำงานที่โรงงานฝึกวีชาชีพเย็บผ้า และหลังจากที่ “ค่ายมวย ส.สิริพร” เปิดดำเนินการเมื่อเดือนพฤาภาคม 2547 ซึ่งค่ายมวยก็อยู่ที่บริเวณหน้าโรงงานนั่นเอง แซมซั่นเย็บผ้าไป ก็เฝ้าดูเพื่อนผู้ต้องขังซ้อมมวยไป ตอนแรกก็ไม่สนใจการชกมวยสักเท่าไหร่ จนกระทั่งตัดสินใจมาสมัครเข้าร่วม เมื่อตอนปลายปี 2547 เพียงมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการออกกำลังกายเท่านั้น

แววความเป็นมวย และเป็นจุดเริ่มต้นของการที่ได้รับการส่งเสริมให้ขึ้นชิงตำแหน่งแชมป์โลกก็มาปรากฏ เมื่อครั้ง เพื่อนผู้ต้องขัง “น้องใหม่ ส.สิริพร” ขึ้นชิงแชมป์โลกรุ่น 105 ปอนด์ที่ว่าง ของ WBC Female กับ “นานาโกะ คิคูชิ” นักมวยสาวจากญี่ปุ่น และ “น้องใหม่” เป็นฝ่ายพ่ายแพ้น็อคเอาท์ไปในยก ที่ 7 เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2548 ที่สนามมวยชั่วคราว ภายในทัณฑสถานวัยหนุ่ม ปทุมธานี ครั้งนั้น แซมซั่น ขึ้นชกเป็นคู่ประกอบรายการ และเป็นการชกมวยสากลอาชีพครั้งแรกในชีวิต แซมซั่นสามารถเอาชนะนักมวยผู้ต้องขังจากเรือนจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีไปอย่างสวยงาม และนักมวยคนนั้นเป็นเจ้าของเหรียญทองของกีฬาภายในกรมราชทัณฑ์อีกด้วย ในวันนั้น แมทช์เมคเกอร์ “เอ้ดดี้” ชูวงศ์ ทุมกิจจ์ จึงพูดขออนุญาติท่านอธิบดี นายนัทธี จิตสว่าง เพื่อขออนุญาต ให้ แซมซั่น ซึ่งขณะนั้น ยังใช้ชื่อ “ศิริพร ส.สิริพร” ขึ้นเป็นผู้ท้าชิงตำแหน่งแชมป์โลกในอ็อพชั่นที่มีอยู่ กับ “นานาโกะ คิคูชิ” ต่อไป


แต่ทว่าทาง
“แซมซั่น (ศิริพร) ส.สิริพร” ก็ตกเป็นฝ่ายแพ้คะแนน (10 ยก) ให้กับแชมป์โลก “นานาโกะ” เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2549 โดยการจัดการแข่งขันถ่ายทอดสดทางช่อง 3 จากสนามมวยชั่วคราวในเรือนจำกลางคลองเปรม ซึ่งคราวนั้นแซมซั่นได้แสดงธาตุแท้แห่งความเป็นนักชกที่ไม่ยอมแพ้ แม้ฝีมือจะสู้ไม่ได้ แต่ก็กัดฟันสู้กับแชมป์โลกนานาโกะอย่างน่าชมเชย จนระฆังหมดยกสุดท้าย ซึ่งในวันนั้น แมทช์เม็คเกอร์ระดับโลก “เอ้ดดี้” ชูวงศ์ ทุมกิจจ์ ก็ได้คิดไว้ในใจว่า ถ้าได้เสริมเท็คนิคการชก และพาชกอุ่นเครื่องเพื่อหาประสบการณ์ และกระดูกเพิ่มขึ้น เด็กคนนี้จะมีอนาคตที่ดีได้ อาจจะถึงตำแหน่งแชมป์โลกทีเดียว

และในที่สุดฝันของเธอก็เป็นจริงจนได้ เมื่อทางผู้สนับสนุนได้จัดให้เธอได้ขึ้นชิงแชมป์ไลต์ฟลายเวต WBC Female
ที่ว่างลงเนื่องจากแชมป์เก่าชาวเกาหลีเหนือสละตำแหน่ง โดยคู่ชกของเธอก็คือ "นินจาสาว" อยากะ มิยาโนะ จากญี่ปุ่น และแซมซั่นใช้ความใหญ่และความได้เปรียบของสรีระเดินไล่ต่อยอยากะอยู่ข้างเดียว จนครบ 10 ยก กรรมการต่างรวมใจให้เธอชนะไปเอกฉันท์ 100-91, 98-92, และ 97-93 กลายเป็นแชมป์โลกมวยหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์ไทย และเป็นแชมป์โลกคนแรกของโลกที่ได้ครองตำแหน่งขณะที่ยังถูกจองจำ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2550 และก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษในเวลาต่อมาไม่นาน

แซมซั่นขึ้นป้องกันแชมป์ครั้งแรกเอาชนะคะแนนแชมป์ญี่ปุ่นรุ่นเดียวกันอย่าง อันริ นาคากาว่า เมื่อ 15 สิงหาคม 2550 และขึ้นป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2 กับ โมโมะ โคเซกิ อดีตผู้คู่ชิงแชมป์อะตอมเวต
WBC Female ที่ว่างชาวญี่ปุ่นของ วินยู ภราดรยิม ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2550
ซึ่งแซมซั่นก็เอาชนะคะแนนไปได้แบบสุดเหนื่อย

ล่าสุดเธอขึ้นป้องกันแชมปืหน 3 เอาชนะคะแนน คาโยโขะ อีบาตะ แชมป์เงารุ่น 105 ปอนด์ชาวญี่ปุ่นไปแบบหืดจับด้วยคะแนนแบบเสียงข้างมาก เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2551

(จากบางส่วนของบทความเรื่อง "จากหลังกำแพงทัณฑสถาน สานฝันสู่........มงกุฎแชมป์โลก " โดย
Unseen Prison/เอ้ดดี้; ภาพประกอบจากสำนักข่าวต่างประเทศ)

พูนสวัสดิ์ กระทิงแดงยิม



ชื่อนักมวย: พูนสวสดิ์ กระทิงแดงยิม

ชื่อจริง:
ระกอบ อุดมมา

วันเดือนปีเกิด:
20 พฤศจิกายน 2523

ภูมิลำเนา
: อ. ภูพาน, จ. สกลนคร

สถิติ:
35-1-0; 25KO

เกียรติยศ
:
แชมป์แบนตั้มเวต
PABA (2544-2548)
แชมป์แบนตั้มเวต
WBA Fedelatin (2546-2547)
แชมป์แบนตั้มเวตเฉพาะกาล WBA (2548-2549)
แชมป์ซูเปอร์แบนตั้มเวต PABA (2549-ปัจจุบัน)


เมื่อเด็กหนุ่มจากภูพาน
-สกลนครคนนี้ ได้เดินทางเข้ามาชกมวยในเมืองกรุง และด้วยสายสัมพันธ์ทางสายเลือดที่เป็นลูกชายพี่สาวแท้ๆของ "พูนสวัสดิ์ ศิษย์ศรทอง" มวยแข็งแรงพันดุอดีตแชมป์รุ่น 126 ปอนด์ของวิกแอร์ เจ้าของสมญาเก๋ไก๋ "ไอ้รถถัง" เด็กหนุ่มคนนั้นเลยได้ใช้ชื่อตามอย่างน้าชายว่า "พูนสวัสดิ์เล็ก ว.สิงห์เสน่ห์" และด้วยกาที่เขามีลีลาการชกที่บู๊ดุเดือดเดินชนไม่หยุด ดังนั้นคนดูมวยเลยถือวิสาสะเรียกฉายาของเขาว่า "ไอ้รถถังจูเนียร์" ตามอย่างน้าชายของเขามาตลอด

อย่างไรก็ตามพูนสวสัดิ์ยังมีอีกฉายาหนึ่งที่ตั้งโดยคุณ
"สร้อย มั่งมี" นักข่าวชื่อดัง โดยคุณสร้อยให้เหตุผลว่า ตอนเจอพูนสวัสดิ์ใหม่ๆ น่าตาดูอ่อนกว่าวัยมาก เหมือนเด็กๆจ้ำม่ำ ตอนนั้นถ้าใครเอาขวดซีอิ๊วไปให้ถือ ก็จะเหมือน "เด็กสมบูรณ์" ซีอิ๋วขาว "หยั่นหวอหยุ่น" เลยทีเดียว ตั้งแต่นั้นมาพูนสวัสดิ์จึงมีอีกฉายาหนึ่งว่า "เด็กสมบูรณ์"


หลังจากอิ่มตัวกับมวยไทย
"พูนสวัสดิ์เล็ก" ได้ตัดสินใจเทิร์นโปรชกมวยสากลอาชีพภายใต้สังกัดของ "แกแล็คซี่ บ๊อกซิ่ง โปรโมชั่นส์" ของ "แชมแม้" นิวัฒน์เหล่า สุวรรณวัฒน์ ผู้จงจักภักดีกับสมาคมมวยโลกมาตลอด โดยเพียงปีแรกของการชกสกลพูนสวัสดิ์ก็สามารถค้วาแชมป์แบนตั้มเวต PABA มาครองได้เพียงการชกครั้งที่ 4 เท่านั้น ด้วยการชนะคะแนน 12 ยก นักชกจอมเก๋า ลี เอสโคบิโด้ จากฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2544 หลังจากนั้นเขาก็ป้องกันตำแหน่งเอาไว้ได้ 9 ไฟต์รวด โดยเป็นการชนะน็อคถึง 8 ไฟต์ด้วยกัน จนรั้งตำแหน่งรองแชมป์โลกอันดับสูง ทางสมาคมมวยโลกจึงได้สั่งให้เขาชกล้มแชมป์กับ มอยเสส คาสโตร แชมป์ WBA Fedelatin รุ่นเดียวกัน เพื่อหาผู้ที่เหมาะสมในการที่จะชิงแชมป์โลกต่อไปเพียงคนเดียวเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2546 ที่เมืองไทย และพูนสวัสดิ์ก็ไม่ทำให้ชาวไทยผิดหวัง เดินรุกไล่ถล่มเอาคาสโตรแพ้ TKO ไปในยกที่ 9 ได้ครองแชมป์ลาตินเป็นคนแรกของไทยและป้องกันแชมป์ PABA ครั้งที่ 10 เอาไว้ได้

พูนสวัสดิ์ป้องกันตำแหน่ง
2 เส้นเอาไว้ได้ 3 ครั้ง ก็ตัดสินใจสละแชมป์ลาตินไปในที่สุด โดยมุ่งมั่นป้องกันตำแหน่งแชมป์ PABA ต่อไปเพียงตำแหน่งเดียว อีกทั้งอันดับโลกก็พุ่งขึ้นสู่เบอร์ 1 ไปแล้วเรียบร้อย เขาป้องกันแชมป์ PABA เอาไว้ได้ทั้งสิ้น 17 ไฟต์ก็ได้รับโอกาสให้ขึ้นชิงแชมป์เฉพาะกาลรุ่นแบนตั้มเวตของ WBA ที่ว่าง เพราะทางแชมป์โลกตัวจริงชาวยูเครน วลาดิเมียร์ ไซโดเรนโก้ มือเจ็บต้องพักยาว และเขาก็ไม่พลาดใช้ความทรหดผสมการเล่นเชิงเอาชนะคะแนนคู่ชิงแชมป์จากปานามา ริคาร์โด้ คอร์โดบ้า ไปแบบไม่เป็นเอกฉันท์ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2548


พูนสวัสดิ์ป้องกันตำแหน่งแชมป์ชั่วคราวเอาไว้ได้เป็นครั้งแรกด้วยการชนะคะแนน 12 ยก
ไอ้แก่ ลีโอ กาเมซ อดีตแชมป์โลก WBA 4 รุ่น ชาวเวเนซูเอล่าไปได้ด้วยการชกสไตล์บ๊อกเซอร์ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2548 ที่ผ่านมา ชนิดขาดลอยเลยทีเดียว

ต่พูนสวัสดิ์ก็ไม่สามารถก้าวขึ้นสู่แชมป์โลกตัวจริงแต่เพียงผู้เดียว เมื่อพลาดท่าพ่ายคะแนน วลาดิเมียร์ ไซโดเรนโก้ แชมป์ตัวจริงชาวยูเครนไปอย่างหน้าเสียดาย เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2549 ที่ฮัมบวร์ก เยอรมัน แต่อันดับโลกล่าสุดของเขาก็หล่นมาเพียงเบอร์ 2 เท่านั้น และรอวันที่จะกลับไปชิงแชมป์โลกอีกครั้ง

พูนสวัสดิ์ขึ้นชิงแชมป์ซูเปอร์แบนตั้มเวต
PABA เอาชนะ KO2 โจนาธาน บา-อัต ไปได้อย่างง่ายดายเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2549 และป้องกันตำแหน่งเอาไว้ได้ 7 ครั้' และทาง WBA ด้มีคำสั่งให้ขึ้นชกตัดเชือกกับ สมศักดิ์ ก่อเกียรติยิม อดีตแชมป์ซูเปอร์แบนตั้มเวต WBA
พื่อนร่วมชาติเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2551 ซึ่งพูนสวัสดิ์ใช้ความสดบุกตลุยทำเอาสมศักดิ์ที่ตกตาชั่งไปก่อนชกแล้วพ่าย TKO11 ไปอย่างบอบช้ำ ได้สิทธิ์ชิงแชมป์โลกภาคบังคับในที่สุด

ระหว่างที่รอชิงแชมป์อยู่นี้พูนสวัสดิ์ก็ขึ้นป้องกันแชมป์ PABA ชนะน็อคไปอีก 2 ครั้งแล้ว

(ข้อมูลบางส่วนจากกระทู้ในเว็บบอร์ดโดย "เล็ก มวยตู้" และ "สร้อย มั่งมี", ต้นฉบับภาพประกอบจากนิตยสารมวยโลก)

รัตนชัย ก่อเกียรติยิม



ชื่อนักมวย:
รัตนชัย ก่อเกียรติยิม

ชื่อจริง:
ไชยา โพธิ์ทอง

วันเดือนปีเกิด:
11 พฤษภาคม 2519

ภูมิลำเนา:
อ. ด่านขุนทด, จ. นครราชสีมา


สถิติ:
73-10-0; 49KO

เกียรติยศ:

แชมป์จูเนียร์ฟลายเวตประเทศไทย (เวทีราชดำเนิน) (2535)
แชมป์จูเนียร์แบนตั้มเวตประเทศไทย (เวทีราชดำเนิน) (2536-2537)
แชมป์ฟลายเวต
I
BF Intercontinental (2537)
แชมป์จูเนียร์แบนตั้มเวต
I
BF Intercontinental
(2538)
แชมป์จูเนียร์แบนตั้มเวต
WBO Asia-Pacific (2544)
แชมป์แบนตั้มเวต WBO Asia-Pacific (2546-2547, 2549-2550)
แชมป์แบนตั้มเวต WBO (2547-2548)


"เล็ก" รัตนชัยเป็นน้องชายแท้ๆของอดีตแชมป์มินิฟลายเวต
IBF 2 สมัย "โบ้" รัตนพล ส.วรพิน เขาขึ้นชกมวยสากลอาชีพตามพี่ชายของเขาภายใต้สังกัดเดียวกันมาตั้งแต่ปี 2535 และในปีเดียวกันนี้เขาก็คว้าแชมป์จูเนียร์ฟลายเวตเวทีราชดำเนินที่ว่างมาครองได้ด้วยการชนะคะแนน 10 ยก รุ่งโรจน์ เกียรติเกรียงไกร เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2535 แต่พอป้องกันแชมป์ครั้งแรกก็ดวงแตกแพ้คะแนน 10 ยก คมพยัคฆ์ จ.เจริญ เสียแชมป์ไปเมื่อวันที่ 10 ธันวาคมปีเดียวกัน พร้อมทั้งเสียสถิติแพ้เป็นครั้งแรกอีกด้วย


อย่างไรก็ตาม ปีต่อมาเขาก็ข้ามรุ่นไปคว้าแชมป์จูเนียร์ฟลายเวตเวทีราชดำเนินที่ว่างมาครองได้อีกเส้นด้วยการชนะ
KO7 จักรราช ยุทธกิจ มื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2536 จากนั้นก็ป้องกันแชมป์ไว้ได้ 1 ครั้งก่อนจะได้โอกาสลดรุ่นมาชิงแชมป์ฟลายเวต IBF Intercontinental เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2537 เอาชนะเจ้าของตำแหน่งชาวอินโดนีเซีย แอบดี้ โปฮัง ได้ครองแชมป์ระดับนานาชาติเป็นครั้งแรก แต่เจ้าเล็กก็ครองแชมป์ได้แค่ไม่ถึง 3 เดือนก็บินไปเสียแชมป์คืนให้กับโปฮังที่เมืองสุราบายาด้วยการแพ้คะแนนทางเทคนิคในยกที่ 4 เมื่อวันที่ 6 สิงหาคมปีเดียวกัน

เจ้าเล็กกลับมาอุ่นเครื่อง 1 ครั้ง ก็ได้โอกาสชิงแชมป์จูเนียร์แบนตั้มเวต
IBF Intercontinental ที่ว่างเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2538 และก็เป็นฝ่ายเอาชนะ TKO10 ปิรุส บอย ได้คาดเข็มขัดโก้อีกครั้ง อย่างก็ตามเพียงการป้องกันแชมป์หนแรกเจ้าเล็กก็หอบเข็มขัดไปทิ้งที่สุราบายาอีกครั้งด้วยการแพ้คะแนน 12 ยก ริคกี้ มาตูเลสซี่ย์ นักชกเจ้าถิ่นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคมปีเดียวกัน

เจ้าเล็กกลับมาอุ่นเครื่องชนะรวด 18 ครั้งก็ได้รับเทียบเชิญให้ไปบินชิงแชมป์จูเนียร์แบนตั้มเวต
IBF ที่ว่างกับนักชกผู้ร้อนแรงในขณะนั้นอย่าง มาร์ค "ทู ชาร์ป" จอห์นสัน และเจ้าเล็กก็สู้กับจอห์นสันได้ดีเกินคาด และแพ้ไปเพียงคะแนนขาดลอยเท่านั้นเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2542 เจ้าเล็กยังไม่ท้อกลับมาชกชนะ 4 ครั้งรวดก็ได้เทียบเชิญไปชิงแชมป์ WBC International รุ่นซูเปอร์ฟลายเวตกับเจ้าของตำแหน่งที่เป็นอดีตแชมป์ซูเปอร์ฟลายเวต WBC อย่าง เกอร์รี่ย์ พีญาโลซ่า เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2543 และตามข่าวแจ้งว่าเจ้าเล็กเป็นฝ่ายทำคะแนนนำมาก่อน แต่ติดเล่นทำการ์ดตกเลยโดนสวนตูมเดียวหลับกลางอากาศแพ้น็อคไปในยกที่ 6 ชวดแชมป์ไปอย่างน่าเสียดาย

รัตนชัยกลับมาชกกับดาวรุ่งดวงใหม่ ยอดดำรงค์ สิงห์วังชา และแพ้คะแนน 10 ยกทำท่าจะกู่ไม่กลับ แต่ไฟต์ต่อมาก็ไปเอาชนะทีเคโอ อกุส เอกาจาย่า นักชกอิเหนาคาบ้านในยกที่ 2 กู้ชื่อคืนมาได้ และก็ได้โอกาสขึ้นชิงแชมป์จูเนียร์แบนตั้มเวต
WBO Asia-Pacific ที่ว่างกับ แดงเกอร์ พาราซิบู เมื่อ 13 สิงหาคม 2544 และก็เป็นฝ่ายชนะน็อคไปในยกที่ 7 คว้าแชมป์สำเร็จ อย่างไรก็ตามเจ้าเล็กมีโอกาสครองแชมป์อยู่ได้ไม่กี่วันก็มีอันต้องถูกปลดเพราะทางผู้จัดเบี้ยวค่าแซงก์ชั่นกับทางสถาบัน แต่เจ้าเล็กก็ยังสร้างชื่ออีกครั้งด้วยการบินไปเอาชนะคะแนนแบบเสียงข้างมาก 10 ยก เหนือต่อยอดมวย แดนนี่ "คิด ไดนาไมท์" โรเมโร่ ถึงสังเวียน เมดิสัน แสควร์ การ์เด้น, นิวยอร์ก เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2544


และจากชัยชนะในไฟต์นี้เอง เจ้าเล็กก็ได้รับการคัดเลือกให้ไปชิงแชมป์แบนตั้มเวต
IBF กับ ทิม ออสติน เมื่อวันที่ 15 ธันวาคมปีเดียวกัน ในไฟต์นี้แม้ว่าจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้คะแนนเอกฉันท์ แต่เจ้าเล็กก็ยังชกได้สนุกถูกใจอเมริกันชนอีกครั้ง จึงยังได้รับการสร้างสรรค์ต่อเนื่องโดยขึ้นชก 5 ครั้งชนะ 4 แพ้ 1 ซึ่งการแพ้นั้นเป็นการแพ้คะแนน 10 ยก คริส จอห์น ดาวรุ่งอินโดนีเซียถึงถิ่น ซึ่งต่อมาจอห์นก็ได้ครองแชมป์เฟเธอร์เวต WBA ในอีกไม่นานนัก

เจ้าเล็กได้โอกาสอีกครั้งจากต้นสังกัดใหม่ "ก่อเกียรติ กรุ๊ป" ให้ขึ้นชิงแชมป์แบนตั้มเวต
WBO Asia-Pacific ที่ว่างกับ กัน ตินูล่าร์ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2546 และเจ้าเล็กก็อาศัยความโหดให้ทุบคู่ชิงชาวอิเหนาแพ้ TKO ไปในยกที่ 3 ได้เป็นแชมป์ภายใต้ร่มเงาของ WBO อีกครั้ง และคราวนี้เจ้าเล็กขึ้นชก 7 ครั้งชนะรวด แถมเป็นการป้องกันตำแหน่งเอาไว้ได้ถึง 5 ครั้ง อันดับโลกจึงพุ่งขึ้นสูงสุดอย่างรวดเร็ว และโอกาสทองก็มาถึงเมื่อทางต้นสังกัดตัดสินใจส่งขึ้นชิงแชมป์แบนตั้มเวต WBO ของจริงกับเจ้าของตำแหน่งชาวเม็กซิกัน ครู๊ซ "ชูโช่" คาร์บาฮาล และเจ้าเล็กก็อาศัยความหนักต่อยเอาเจ้าของตำแหน่งลงไปคลุกฝุ่นในยกที่ 5 ก่อนที่ตัวเองจะหมดแรงถูกยำเกือบไปไม่รอดในยกที่ 8 แต่เจ้าเล็กหันกลับมาใช้จังหวะฝีมือทำคะแนนจนเข้าไปชนะไปในที่สุด 116-111, 116-110, และ 118-109 กลายเป็นแชมป์โลก WBO คนแรกของไทยไปอย่างสวยงามเมื่อ 7 พฤษภาคม 2547


อย่างไรก็ตามรัตนชัยได้ขึ้นอุ่นเครื่องถึง 7 ครั้ง จึงได้ขึ้นป้องกันตำแหน่งครั้งแรกซึ่งเป็นไฟต์บังคับกับแชมป์
WBO Latino เมาริโอ มาติเนซ ชาวปานามา ที่เคยครองเข็มขัดแชมป์โลกเส้นที่รัตนชัยครองอยู่นี้มาก่อนด้วย ในวันที่ 5 สิงหาคม 2548 ที่ภูเก็ต ซึ่งเจ้าเล็กยังชกสไตล์ขี้เล่นจนถูกต่อยเอาเกือบหล่นหลายครั้ง แต่ก็ยังอุตส่าห์เอาชนะคะแนนไปเต็มกลืน 116-112, 116-112, และ 114-114 ป้องกันแชมป์เอาไว้ได้

แต่ล่าสุดเจ้าเล็กก็พลาดท่าพ่ายน็อค จอห์นนี่ กอนซาเลซ แชมป์
NABO ชาวเม็กซิกันรองแชมป์อันดับ 1 คนใหม่ไปอย่างบอบช้ำ ชนิดตัวเองร่วง 3 นับ ก่อนถูกจับ TKO ไปในยกที่ 7 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2548 ตามเวลาในอาริซ่า, สหรัฐอเมริกา เสียแชมป์โลกไปอย่างบอบช้ำ

อย่างไรก็ตามในปี 2549 นี้รัตนชัยกลับมาอุ่นหมัดชนะน็อคไปแล้ว 2 ครั้ง และทำท่าว่าจะได้ชิงแชมป์เส้นเดิมของตัวเองคืนอีกครั้ง เมื่อกอนซาเลสละตำแหน่งข้ามรุ่นไปชกพิกัด 122 ปอนด์

แต่ล่าสุดรัตนชัยก็กลับมาครองแชมป์
WBO Asia-Pacific รุ่น 118 ปอนด์ ที่ว่างได้เป็นสมัยที่ 2 เมื่อเอาชนะ TKO4 จอห์นนี่ เลียร์ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2549 จานั้นก็ขึ้นอุ่นเครื่องชนะไปแล้ว 4 ครั้งรวด ก่อนที่จะได้โอกาส
ชิงแชมป์โลกของตัวเองคืนจากเจ้าของแชมป์คนปัจจุบัน เกอร์รี่ย์ พีญาโลซ่า ในวันที่ 6 เมษายน 2551 ที่กรุงมะนิลา แต่รัตนชัยก็สู้ไหม่ไว้ ถูกยำพ่าย TKO8 อย่างบอบช้ำ

รัตนชัยกลับมาอุ่นเครื่องชนะ 1 ครั้ง และกำลังจะเดินทางไปชิงแชมป์ WBO Oriental รุ่นแบนตั้มเวตจาก ไมเคิล โดมิงโก้ แชมป์ชาวฟิลิปปินส์ ในวันที1 14 กันยายน 2551 นี้

(ต้นฉบับภาพประกอบจาก นสพ.มวยสยามรายวัน ฉบับวันที่ 8 พฤษภาคม 2547)

ยอดสนั่น ศิษย์ยอดธง



ชื่อนักมวย: ยอดสนั่น ศิษย์ยอดธง
ชื่อจริง:
ธีระ พงษ์วัน

วันเดือนปีเกิด:
12 สิงหาคม 2513

ภูมิลำเนา:
จ. ศรีสะเกษ

สถิติ:
56-3-1; 45KO

เกียรติยศ
:
แชมป์ซูเปอร์เฟเธอร์เวต
PABA (2541-2545)
แชมป์ซูเปอร์เฟเธอร์เวต WBA (2545-2548)


นักมวยจากจังหวัดศรีสะเกษอย่างยอดสนั่นก็เช่นเดียวกับนักมวยไทยทั่วไป เคยชกมวยไทยมาก่อน ก่อนจะบ่มเชิงชกเป็นมวยสากลแท้ๆ เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้วถูกฟูมฟักที่ค่ายศิษย์ยอดธงของ "ครูตุ๊ย" ยอดธง เสนานันท์ สร้างเสริมในระดับนานาชาติโดย ทรงชัย รัตนสุบรรณ มาแต่อ้อนแต่ออก

ครั้งเมื่อยังไต่เต้าสู่บัลลังก์แชมป์โลก โปรโมเตอร์ทรงชัยจัดชกกับนักมวยชาติใด ยอดสนั่นก็ตะบันคู่ชกชักกว่า 20 ราย มีรอดครบยกอยู่เพียงรายสองรายเท่านั้น ความรุนแรงของกำปั้นเข้าตานายกว้าง รอบคอบ อดีตอธิบดีกรมพลศึกษา-สามัญศึกษา จึงตั้งฉายาให้เป็น "ไมค์ ไทสัน เมืองไทย" เสริมกำลังใจกันหมายให้ยิ่งใหญ่เช่นเดียวกับอดีตแชมป์โลกหมัดหนักคนนั้น


ยอดสนั่นเป็นนักชกประเภทหมัดหนักชนิด
"ขวาตาย ซ้ายสลบ" ชั้นเชิงไม่ค่อยสวยงาม อาศัยพลังหมัดน็อคคู่ต่อสู้มาโดยตลอด เขาได้แชมป์ซูเปอร์เฟเธอร์เวต PABA ที่ว่างมาครองได้ด้วยการชนะคะแนนแบบไม่สวยนักเหนือต่อนักชกมองโกเลีย สุกรีย์ ซุคห์บาย่าร์ เนเม็คบาย่าร์ เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2541 จากนั้นป้องกันตำแหน่งเอาไว้ได้ 19 ครั้ง รวมทั้งเสมอกับคู่ปรับเก่าอย่างเนเม็คบาย่าร์ครั้งหนึ่งด้วย

อย่างไรก็ตามในไฟต์ที่ขึ้นชิงแชมป์ซูเปอร์เฟเธอร์เวต WBA ที่ว่างเพราะ อเซลิญโญ่ ไฟรตัส ถูกเลื่อนชั้นเป็นซูเปอร์แชมป์กับนักชกมองโกเลียอดีตแชมป์คนก่อนอย่าง ลัควา ซิม ยอดสนั่นต้องใช้ฝีมือดักทำคะแนนได้งามจะแจ้งจนครบ 12 ยก และได้ครองแชมป์ไปชนิดประทับใจคนดูทั้งประเทศ เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2545 เขาป้องกันกันตำแหน่งเอาไว้ได้ 2 ครั้ง ก่อนจะกลายเป็นแชมป์โลกรุ่นนี้แต่เพียงผู้เดียวภายหลังไฟรตัสเลื่อนรุ่นไปแล้ว

เมื่อเป็นแชมป์โลกแล้วมีรายการชกน้อยนิดได้แต่อุ่นเครื่องธรรมดาๆ 3 ไฟต์ จึงมีเรื่องผิดใจกันระหว่างผู้จัดการ "ครูตุ๊ย" มีลูกศิษย์ลูกหาในอเมริกาสามารถหารายการชกให้ได้ จึงเข้าปรึกษากับ ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ ผู้จัดการร่วมอีกคน นำยอดสนั่นไปเซ็นสัญญาให้ อาร์ต เพลูโญ่ แห่ง "แบนเนอร์ โปรโมชั่นส์" ของสหรัฐอเมริกาจัดป้องกันแชมป์โลก 4 ครั้ง ลดบทบาทของทรงชัยไปทันที และไปป้องกันตำแหน่งครั้งที่ 3 ชนะคะแนน สตีฟ ฟอร์บส์ ที่อเมริกามาแล้ว
1
ไฟต์ตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 2547 ยอดสนั่นกลับไม่มีรายการชกป้องกันตำแหน่งครั้งที่ 2 ตามพันธสัญญา ไม่มีแม้แต่รายการชกอุ่นเครื่อง

ถ้าเป็นสมัยก่อน แชมป์โลกที่มีรายการชกป้องกันตำแหน่งปีละครั้งอย่าง ยอดสนั่น สามเคแบตเตอรี่ แชมป์ซูเปอร์เฟเธอร์เวตสมาคมมวยโลก คงต้องถูกเรียกว่า
"แชมป์โลกอาภัพ" กันไปแล้ว เพราะตั้งแต่ได้แชมป์โลกโดยการชนะคะแนน ลัควา ซิม จอมทรหดจากมองโกเลียที่จังหวัดนครราชสีมาเมื่อวันมหาสงกรานต์ ปี 2545 แล้ว ยอดสนั่นได้ชกป้องกันตำแหน่งเพียง 3
ครั้งเท่านั้น ต่างจากแชมป์โลกร่วมยุคชาติเดียวกันคนอื่นๆ อย่างสิ้นเชิง ยอดสนั่นยังต้องพิสูจน์ตัวตนให้สมกับฉายาในสายตาแฟนมวยทั่วโลกต่อไป

ต่อมายอดสนั่นแพ้คะแนนเสียแชมป์ให้กับ บิซองเต้ มอสเกวร่า นักชกปานามาไปแล้วเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 48 หรือตรงกับเช้าวันที่ 1 พ.ค. 48 ตามเวลาประเทศไทย ที่เอ็มจีเอ็มแกรนด์
, ลาสเวกัส ชนิดที่ถูกนับในยกที่ 1, 3, และ 11 ได้ตัวเองได้คืนนับเดียวในยกที่ 3 หลังจากนั้นกลับมาชกอุ่นเครื่องที่เมืองไทยชนะคะแนน 6 ยกนักชกฟิลิปปินส์ 2 ไฟต์แล้ว และรอเวลาขึ้นชิงแชมป์โลกอีกครั้ง อย่างไรก็ดียอดสนั่นใช้เวลาว่างในช่วงนี้เป็นทั้งผู้ช่วยเทรนเนอร์และพี่เลี้ยงของ พรสวรรค์ กระทิงแดงยิม แชมป์มินิมั่มเวต PABA และรองแชมป์อันดับสูงของ WBA


ล่าสุด ยอดสนั่นได้ย้ายมาชกในสังกัด เพชรยินดี บ๊อกซิ่ง โปรโมชั่นส์ แล เอเซีย บ๊อกซ์ โปรโมชั่นส์ แล้ว และขึ้นชกชนะรวด 6 ครั้งด้วยกัน และตั้งเป้าว่าจะขึ้นชิงแชมป์โลกรุ่นที่ 2 ในเร็วๆนี้


(เรียบเรียงเพิ่มเติมจากบทความ ""ไมค์ ไทสันเมืองไทย" ยอดสนั่น สามเคแบตเตอรี่ย์" คอลัมน์ ฉายาชาวยุทธ โดย สว่าง สวางควัฒน์ นสพ
.ข่าวสด ฉบับที่ 5179 ปีที่ 14 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2548

วีระพล นครหลวงโปรโมชั่น



ชื่อนักมวย: วีระพล นครหลวงโปรโมชั่น

ชื่อจริง:
ีระพล สำราญกลาง

วันเดือนปีเกิด:
16 พฤศจิกายน 2510

ภูมิลำเนา:
จ. สระบุรี

สถิติ:
61-4-2; 43KO


เกียรติยศ
:
แชมป์ซูเปอร์ฟลายเวต
WBC International (2537-2538)
แชมป์แบนตั้มเวต
WBA (2538-2539)
แชมป์แบนตั้มเวต WBC (2541-2548)


วีระพล หรือชื่อจริง
"ธีระพล สำราญกลาง" เจ้าของฉายา "พระกาฬหน้าขรึม" ผู้นี้ เป็นหนึ่งในยอดมวยสองแบบที่มีคะแนนนิยมต่อเนื่องมายาวนานตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา !!.

ไม่ว่าจะเป็นสมัยที่ชกมวยไทยในนาม
"วีระพล สหพรหม" เขาก็โดดเด่นเป็นแชมเปี้ยน 3 รุ่นของเวทีราชดำเนิน

เป็นคนแรกที่ทำให้
"แสนเมืองน้อย ลูกเจ้าพ่อมเหศักดิ์" (แซมซั่น ดัชบอยยิมส์) รู้ซึ้งว่าการถูกน็อกเอ๊าต์มันเป็นยังไง เช่นเดียวกับที่ตัววีระพลเองก็ถูกแสนเมืองน้อย "เอาคืน" ในลักษณะเดียวกัน..ผลัดกันน็อกคนละครั้ง เมื่อสลัดแองเกิ้ลหันไปสวมรองเท้าชกสากลในการจัดการของ "เสี่ยฮุย" สุชาติ พิสิฐวุฒินันท์ แห่ง "นครหลวงโปรโมชั่น" อันมี มนต์สวรรค์ แหลมฟ้าผ่า เป็นเทรนเนอร์ วีระพล-คนหน้าขรึมก็พัฒนาฝีมือไปได้อย่างราบรื่นน่าชื่นชม

วีระพลขึ้นชกครั้งแรกก็ได้ชิงแชมป์ซูเปอร์ฟลายเวต
WBC International ที่ว่างอยู่เลยกับ โจเอล จูนิโอ จากฟิลิปปินส์ ซึ่งเขาก็ชิงแชมป์ได้สำเร็จง่ายดายด้วยการชนะน็อคเพียงแค่ยก 3 เท่านั้น และหลังจากป้องกันได้ 1 ไฟต์กับอุ่นเครื่อง 1 ไฟต์ วีระพลก็ขึ้นชิงแชมป์แบนตั้มเวต WBA กับ ดาวรุ่ง ช.ศิริวัฒน์ แชมป์โลกชาวไทยด้วยกันที่จังหวัดนนทบุรีเมื่อ 17 กันยายน 2538 และเขาก็สามารถเอาชนะคะแนนดาวรุ่งในแบบไม่เป็นเอกฉันท์กลายเป็นแชมป์โลกสถาบันหลักที่มีสถิติชกเพียง 4 ครั้ง ซึ่งน้อยที่สุดในโลกเป็นอันดับ 2 รองจาก แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์ เพียงคนดียวเท่านั้น (แสนศักดิ์ได้แชมป์โลกในการชกอาชีพไฟต์ที่ 3)

แต่แค่ป้องกันครั้งแรกวีระพลก็เสียตำแหน่งไปง่ายดายโดยถูกหมัดบวกขอผู้ท้าชิงชาวกาน่า นานา ยอว์ คอนาดู ร่วงลงไปกับพื้นเวทีในยกที่
2 แต่ด้วยความด้อยประสบการณ์ทำให้วีระพลรีบลุกขึ้นมาเร็วจึงทำให้ฟื้นไม่ทันและเป็นเหตุให้พ่ายน็อคไปในยกที่ 2 นี้เอง

แต่วีระพลก็กลับชกทำฟอร์มอีก
10 กว่าครั้งโดยใช้เวลาเพาะบารมีอยู่ร่วม 3 ปี ก็ได้โอกาสไปชิงแชมป์แบนตั้มเวต WBC กับ โจอิชิโร่ ซึโยชิ ที่ญี่ปุ่น ซึ่งวีระพลก็ถล่มเอาขวัญใจชาวอาทิตย์อุทัยแพ้น็อคไปในยกที่ 6 กลายเป็นแชมป์โลกอีกครั้งอย่างงดงามเมื่อ 29 ธันวาคม 2541

เขาป้องกันตำแหน่งทั้งในและนอกประเทศเอาไว้ได้ถึง
14 ครั้งแล้ว และกำลังทำสถิติป้องกันตำแหน่งมากขึ้นเรื่อยๆ

สำหรับฉายาของวีระพลนั้น ได้มาจากบุคลิกส่วนตัวที่เป็นคนเงียบๆ แต่เฉียบคมด้วยฝีมือ รู้หน้าที่ของตัวเอง มีวินัยเคร่งครัด เป็นที่รักและไว้วางใจของผู้เกี่ยวข้องทุกคน ประกอบกับมีผิวกายดำคล้ำ เข้าลักษณะ
"พระกาฬ"อย่างลงตัว (กาฬหมายถึง "ดำ")

จึงมีฉายาว่า
"พระกาฬหน้าขรึม" ตลอดมา !!

แต่มักถูกเรียกเพี้ยนเป็น
"พยัคฆ์หน้าขรึม" เทรนด์เดียวกับ "พยัคฆ์หน้าหยก" ฉายาของ สามารถ พยัคฆ์อรุณ ไปนั่น ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม?

ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่ วีระพล นครหลวงโปรโมชั่น วัยกว่า
30 ปี ได้รับยกย่องเป็น "นักกีฬาอาชีพดีเด่น" ของการกีฬาแห่งประเทศไทยถึง 4 สมัยติดต่อกัน

ต่อมาวีระพลพลาดท่าเสียแชมป์แบนตั้มเวต
WBC ให้กับผู้ท้าชิงชาวญี่ปุ่น โฮซูมิ ฮาเซกาว่า ด้วยการแพ้คะแนนเอกฉันท์ 115-112, 115-113, และ 116-113 ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 16 เม.. 48 รวมป้องกันตำแหน่งเอาไว้ได้ทั้งสิ้น 14 ครั้ง อย่างไรก็ตามเขายังกลับมาอุ่นเครื่องต่อไปเพื่อหวังจะชิงตำแหน่งคืนในอนาคตข้างหน้า

และวีระพลก็ได้คิวชิงแชมป์โลกแก้มือกับฮาเซกาว่าวันที่ 25 มีนาคม 2549 ที่เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น แต่พลาดท่าพ่ายน็อคไปในยกที่ 9 ทั้งๆที่เริ่มแรงขึ้นมาเรื่อยๆแล้ว

อย่างไรก็ตามวีระพลยังไม่เลิกมวยง่ายๆ เขากลับมาอุ่นเครื่องอีก 7 ไฟต์ชนะรวด ก่อนที่จะได้ขึ้นชิงแชมป์แบนตั้มเวต
ABCO ที่ว่างอยู่ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2550 และเป็นฝ่ายเอาชนะคะแนน ริชาร์ด ลาเอโน่ คู่ชิงจากฟิลิปปินส์ไปได้สำเร็จ คว้าแชมป์ไปครอง

ล่าสุดวีระพลชกตัดเชือกเพื่อที่จะกลับไปชิงแชมป์โลก
WBC อีกครั้ง กับนักชกแอฟริกาใต้นามว่า วูซี่ มาลิงก้า แต่ก็สู้ความหนุ่มสดของมวยตัวดำๆไม้ได ถูกถล่มพ่ายน็อคไปในยกที่ 4 จนต้องประกาศแขวนนวมและหันไปเป็นเทรนเนอร์ของค่ายต่อไป

(เรียบเรียงเพิ่มเติมจากเรื่อง "ฉายา "พระกาฬหน้าขรึม" วีระพล นครหลวงโปรโมชั่น" คอลัมน์ ฉายาชาวยุทธ์ โดย สว่าง สวางควัฒน์ นสพ.ข่าวสด ฉบับที่ 5158 วันที่ 12 มกราคม .. 2548 ปีที่ 14, ต้นฉบับภาพประกอบจากนิตยสารโลกกำปั้น)

วันดี สิงห์วังชา



ชื่อนักมวย: วันดี สิงห์วังชา

ชื่อจริง:
้อน ดูวิเศษ

วันเดือนปีเกิด:
5 กุมภาพันธ์ 2523

ภูมิลำเนา:
จ. อุดรธานี

สถิติ:
56-9-1; 12KO

เกียรติยศ
:
แชมป์มินิฟลายเวต IBF Intercontinental (2539-2541)
แชมป์มินิมั่มเวตเฉพาะกาล
WBC (2541-2542)
แชมป์มินิมั่มเวต
WBC (2542-2543)
แชมป์ไลต์ฟลายเวต WBC International (2547-
2549)
แชมป์ไลต์ฟลายเวตเฉพาะกาล WBC (2549)
แชมป์ฟลายเวต ABCO (2550-ปัจจุบัน)


วันดีขึ้นชกมวยสากลอาชีพตั้งแต่ปี 2537 มีแพ้อยู่ครั้งเดียวในรอบ 3 ปี นอกนั้นคว้าชัยกราวรูด เขาขึ้นชิงแชมป์เส้นแรกเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2539 เอาชนะคะแนน 12 ยก โรแลนโด้ โทโยกอน จากฟิลิปปินส์ ได้ครองแชมป์
IBF Intercontinental รุ่นมินิฟลายเวตเป็นตำแหน่งแรก จากนั้นขึ้นอุ่นเครื่องชนะรวด 5 ไฟต์ด้วยกัน แต่แล้วในปีต่อมาเขาก็เดินทางไปพ่ายคะแนนให้กับคู่ปรับเก่า ไฟซอล อัคบาร์ เสียแชมป์ที่อินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2540


วันดีกลับมาชกอุ่นเครื่องชนะครั้งเดียวก็สบโอกาสขึ้นชิงแชมป์สตรอว์เวต (ปัจจุบันเรียกมินิมั่มเวต) เฉพาะกาล
WBC ได้ด้วยการเอาชนะคะแนนไม่เป็นเอกฉันท์เหนือต่อ ร็อคกี้ หลิน นักชกไต้หวันที่ญี่ปุ่นเอาไปสร้างได้ถึงแดนปลาดิบ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคมปีต่อมา เขาป้องกันแชมป์ได้ 1 ครั้งก็ได้รับการสถาปนาให้เป็นแชมป์ตัวจริงเนื่องจาก ริคาร์โด้ โลเปซ แชมป์ชาวเม็กซิโกเลื่อนรุ่นไปเป็นแชมป์จูเนียร์ฟลายเวต IBF แต่พอการป้องกันตำแหน่งครั้งแรก วันดีก็พ่ายคะแนน โฮเซ่ อันโตนิโอ อควิเร่ จากเม็กซิโกเสียแชมป์ไปคาบ้านแบบไม่เป็นเอกฉันท์ เมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2543

วันดีกลับมาอุ่นเครื่องชนะ
10 กว่าครั้งก็ต้องแพ้ 4 ครั้งรวด แบบที่ตัวเองไม่พร้อม โดยแพ้คะแนน ฮุสเซ็น ฮุสเซ็น ในการชกนอกรอบที่ออสเตรเลีย แพ้คะแนน 12 ยก ปีเตอร์ คัลชอว์ ชิงแชมป์จูเนียร์แบนตั้มเวต WBF ที่ว่างไม่สำเร็จที่อังกฤษ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2546 หลังจากนั้นก็แพ้ TKO 4 วิค ดาชิเนี่ยน ชิงแชมป์ฟลายเวต IBF Pan Pacific ที่ว่างไม่สำเร็จที่ออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 13 มิถุนายนปีเดียวกัน ก่อนจะกลับไปพ่ายน็อคยก 5 วิค ดาชิเนี่ยน อีกครั้งในไฟต์ที่ชิงตำแหน่งรองอันดับ 1 รุ่นฟลายเวตของ IBF

อย่างไรก็ตาม วันดีกลับมาชกชนะ
1 ครั้งและน็อค เออร์เนสโต้ รูบิญญ่าร์ ยก 8 คว้าแชมป์ไลต์ฟลายเวต WBC International ที่ว่างมาครองได้สำเร็จเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2547 จากนั้นป้องกันแชมป์ครั้งแรกเอาไว้ได้หืดจับ เมื่อทำได้แค่เสมอกับ จูน อาร์ลอส ผู้ท้าชิงลายครามจากฟิลิปปินส์ และยังอุ่นเครื่องอยู่เรื่อยๆเพื่อรอชิงแชมป์โลกอีกครั้ง

ต่อมาวันดีได้โอกาสขึ้นชิงแชมป์ไลต์ฟลายเวตเฉพาะกาล
WBC ที่ว่างกับ ฆวนนิโต้ รูบิญญ่าร์ จูเนียร์ จากฟิลิปปินส์ เนื่องจากแชมป์โลกตัวจริง ไบรอั้น วิโลเรีย ได้รับบาดเจ็บ และ "เจ้าอ้อน" ก็เอาชนะคะแนนคว้าแชมป์มาครองได้สำเร็จเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2549 แต่วันดีก็พลาดเสียแชมป์เพียงแค่ป้องกันตำแหน่งหนแรกด้วยการตกตาชั่งที่ประเทศญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามยังต้อนตือเอาชนะคะแนน มุเนซึกึ คาห์โยะ ไปได้ขาดลอย เมื่อวันที่ 9 ตุลาคมปีเดียวกัน ก่อนจะกลับมาอุ่นเครื่องชนะไปแล้ว 4
ครั้ง

วันดีได้โอกาสขึ้นชิงแชมป์ฟลายเวต
ABCO
ที่ว่างในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2550 และก็เอาชนะคะแนน เฟอร์นันโด้ ลูมาแคด นักชกฟิลิปปินส์ ได้ครองแชมป์สาขาย่อยไปสมความตั้งใจ แต่ครองอยู่ได้ไม่นานก็โดนประกาศิตของผู้จัดการให้สละตำแหน่งให้ทาง เด่นเก้าแสน กระทิงแดงยิม ชิงแชมป์ว่างแทนที่

อย่างไรก็ตามวันดีขึ้นอุ่นเครื่องชนะอีก 1 ครั้ง ก็ได้โอกาสชิงแชมป์ฟลายเวต ABCO ที่ว่างอีกครั้ง เมื่อเด่นเก้าแสนสละตำแหน่งคืนให้ และวันดีก็เอาชนะทางนักชกอินโดนีเซีย โรแลนด์ ลาทูนี่ ไปในยกที่ 4 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 51 ได้เป็นแชมป์รอบ 2

อย่างไรก็ตามวันดีได้ถูกเรียกไปอุ่นเครื่องกับ ทาคาชิ มาสึดะ ในวันที่ 11 สิงหาคม 51 แต่พลาดท่าพ่ายคะแนนอดีตแชมป์ไล๖ฟลายเวต OPBF ชาวญี่ปุ่นไปขาดลอย

(ต้นฉบับภาพประกอบจากนิตยสารมวยโลก)

วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ต่อศักดิ์ ศศิประภายิม



ชื่อนักมวย
: ต่อศักดิ์ ศศิประภายิม

ชื่อจริง:
ต่อศักดิ์ ผ่องสุภา

วันเดือนปีเกิด: 23 พ.ย. 2511

ภูมิลำเนา:
จ. กรุงเทพ

สถิติ:
28-3-0; 18KO

เกียรติยศ
:
แชมป์ซูเปอร์ฟลายเวตฟลายเวต WBC International (2532-2536)
แชมป์จูเนียร์เฟเธอร์เวต
WBF (2539-2540)


ต่อศักดิ์เป็นลูกชายแท้ๆของ
"หมวดเจ้าน้ำตา" ไฉน ผ่องสุภา แห่งค่ายโอสถสภา เขาเริ่มต้นชกมวยสมัครเล่นมาก่อนที่จะเทิร์นโปรชกมวยอาชีพ ต่อศักดิ์โชว์ฟอร์มชนะน็อครวด 7 ครั้ง ก่อนจะพลาดท่าพ่ายคะแนน 10 ยกให้กับทาง ถนอมศักดิ์ ศิษย์โบ๊เบ๊ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น เถลิงศักดิ์ ศิษย์โบ๊เบ๊ และ เขาใหญ่ มหาสารคาม ก่อนที่จะได้ชิงแชมป์จูเนียร์แบนตั้มเวต WBA 2 ครั้ง แต่ไม่สำเร็จ แพ้คะแนนทั้ง 2 ครั้ง) แต่เขาก็กลับมากู้ชื่อได้ในการชกไฟต์ต่อมา จากนั้นก็สบโอกาสขึ้นชิงแชมป์ซูเปอร์ฟลายเวตฟลายเวต WBC International ที่ว่างอยู่กับทาง ดาดอย อันดูจาร์ จากอินโดนีเซียทีเวทีลุมพินี เมื่อวันที่ 29 .. 2532 แลเป็นฝ่ายเอาชนะน็อคในยกที่ 8 คว้าแชมป์มาครองได้สำเร็จ หลังจากนั้นก็ชกชนะรวดอีก 7 ครั้ง เป็นการป้องกันตำแหน่ง 2 ครั้ง กับอุ่นเครื่อง 5 ครั้ง ในจำนวนนั้นเขาเอาชนะคะแนน รอมมี่ นาวาร์เร็ตต้ แชมป์ OPBF รุ่นเดียวกันในการชกนอกรอบกำหนด 10
ยกได้ด้วย

ต่อศักดิ์ได้โอกาสขึ้นชิงแชมป์ซูเปอร์ฟลายเวต
WBC ของจริงกับทาง "ไอ้ผมม้า" มูน ซัง กิล เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2534 ที่กรุงโซล แต่ก็ต้านแรงบุกของแชมป์เจ้าถิ่นไม่ไหวพ่าย TKO ยก 6 ชวดแชมป์ไปอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ตามเขากลับมาชกอีก 6 ครั้ง เป็นการป้องกันแชมป์เงาที่ครองอยู่ 1 ครั้ง กับนอกรอบ 5 ครั้ง ก่อนจะพลาดท่าพ่ายน็อคยก 8
เรย์นันเต้ จามิลี่ และได้ถูกปลดออกจากตำแหน่งแชมป์เงาในเวลาต่อมา

อย่างไรก็ตามต่อศักดิ์หยุดชกไปเกือบปีก็กลับมาชกชนะอีก
2 ครั้ง ก็ได้โอกาสขึ้นชิงแชมป์จูเนียร์เฟเธอร์เวต WBF กับเจ้าของตำแหน่งชาวออสเตรเลีย โทนี่ เว็บบี้ย์ (ผู้พิชิต ฟ้าสั่ง สามเคแบตเตอร์รี่ย์ ในการชิงแชมป์ที่ว่าง) เมื่อวันที่ 11 .. 2539 และต่อศักดิ์ก็เอาชนะคะแนน 12 ยกได้เป็นแชมป์ดังใจนึก เขาป้องกันตำแหน่งเอาไว้ได้ 2 ครั้ง ก็หยุดชกแขวนนวมไปถึง 2 ปีกว่าๆ จนแชมป์ถูกปลดไป ทั้งนี้เพราะสถาบัน WBF ถูกบอยคอตจากโปรโมเตอร์ชาวไทยแล้วในเวลานั้น ต่อศักดิ์กลับมาชกอีกครั้งในปี 2542 เอาชนะคะแนน คิด ซาร์รี่ย์ ไปได้ในกำนด 10
ยก จากนั้นก็แขวนนวมถาวร หันไปประกอบธุรกิจนำมวยไทยไปชกยังต่างประเทศมาจนทุกวันนี้

(ต้นฉบับภาพประกอบจากภาพขาวดำในคอลัมน์ "ย้อนตำนานแชมปโลกไทย" นสพ.มวยสยามรายวัน ฉบับที่ 4205 วันที่ 24 มีนาคม 2548)

ยอดชิงชัย อัครเดชยิม



ชื่อนักมวย: ยอดชิงชัย อัครเดชยิม

ชื่อจริง:
เทียนชัย ข้อกิ่ง

วันเดือนปีเกิด:
17 ธันวาคม 2519

ภูมิลำเนา:
โคกสำโรง, ลพบุรี

สถิติ:
36-7-0; 20KO

เกียรติยศ:
แชมป์ไลต์ฟลายเวต WBU (2538-2539)


ยอดชิงชัยเดิมเป็นนักมวยที่ชกอุ่นเครื่องประกอบรายการมวยพื้นๆเท่านั้น แต่แล้ววาสนาก็ช่วยให้เขาได้ชิงแชมป์ฟลายเวต
WBU ที่ว่างอยู่กับคู่ปรับเก่าที่เคยผลัดกันแพ้ชนะมาคนละ ครั้ง อย่าง ลี เอสโคบิโด้ (ครั้งแรกยอดชิงชัยแพ้ TKO6 ครั้งที่ 2 ชนะ TKO6 เช่นกัน) โดยทั้งคู่ได้ชกกันที่เวทีห้องส่งช่อง 7 สีในวันที่ 5 สิงหาคม 2538 ประกอบรายการมวยชิงแชมป์โลก 5 WBU คู่ และคราวนี้ยอดชิงชัยก็ย้ำแค้นได้อีกครั้ง โดยเป็นฝ่ายเอาชนะ TKO6ไปได้อีกหน แต่ในปีถัดมาเขาก็เสียแชมป์เพียงแค่การป้องกันตำแหน่งครั้งแรก ด้วยการพ่าย TKO11 แองเจล อัลมิน่า นักชกโดมินิกันไปแบบบอบช้ำ เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2539 (ต่อมาอัลมิน่าเสียแชมป์ให้กับศรพิชัย)


เขาขึ้นชกอีก 15 ครั้งแพ้เพียง 3 ไฟต์ให้กับคู่ปรับเก่า ลี เอสโคบิโด้ ;้
(TKO2) กับดาวรุ่งดวงใหม่ 2 รายอย่าง สมศักดิ์ สิงห์ชัชวาลย์ (KO5) และ นภาพล เกียรติศักดิ์ โชคชัย (KO5)

อย่างไรก็ตามหลังจากหยุดไปร่วม 2 ปี เขาก็บินไปเป็นคู่อุ่นหมัดให้นักชกญี่ปุ่น 2 ราย แล้วก็แพ้น็อครวดทั้ง 2 ครั้งก่อนแขวนนวมไปถาวร

ล่าสุดมีข่าวว่าปัจจุบันนี้ยอดชิงชัยได้เดินทางไปปักหลักใช้ชีวิตอยู่ที่ญี่ปุ่น โดยแต่งงานกับสาวเจ้าถิ่นและมีบุตรด้วยกัน 2 คน โดยตัวของเขาได้ทำงานในโรงงานทำกระเป๋าควบคู่ไปกับการเป็นครูมวยไทยอีกด้วย


(ต้นฉบับภาพประกอบจากนิตยสารโลกกำปั้น)

สุรชัย แสงมรกต



ชื่อนักมวย: สุรชัย แสงมรกต

ชื่อจริง:
สุรชัย แลบัว

วันเดือนปีเกิด:
15 ก.ย. 2520

ภูมิลำเนา:
จ. หนองบัวลำภู

สถิติ:
25-6-1; 14KO

เกียรติยศ:

แชมป์มินิฟลายเวตประเทศไทย (เวทีราชดำเนิน) (2537)
แชมป์
เปเปอร์
เวต WBU (2538-2540
)


สุรชัยสร้างสถิติชนะรวดในเชิงสากล
7 ครั้ง ก่อนจะได้โอกาสขึ้นชิงแชมป์มินิฟลายเวตเวทีราชดำเนินที่ว่างและเอาชนะคะแนน 10 ยก นกน้อย ส.ธนิกุล ได้เป็นแชมป์เส้นแรกเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2537 และเขาก็ขึ้นอุ่นเครื่องชนะรวด 3 ครั้ง ก่อนที่จะโชคดีได้ไปชิงแชมป์สตรอว์เวต (มินิมั่มเวต) WBC กับ เม็กซิกันอันตราย ริคาร์โด้ โลเปซ นาวา ที่ลาสเวกัส แต่ก็ได้แค่ชิงเพราะบินไปถึงปุ๊บก็ขึ้นตาชั่งปั๊บ แล้วก็ชกเลยในวันถัดมาโดยไม่ได้ปรับสภาพร่างกาย ผลก็คือถูกโลเปซต่อยน็อคไปแค่ 1 นาที 53 วินาทีของยกแรกเท่านั้นเมื่อวันที่ 17 กันยายนปีเดียวกันนั่นเอง

ปีถัดมาสุรชัยยังโชคดีได้ไปชิงแชมป์ว่าง
OPBF รุ่นมินิฟลายเวตกับ นิโก้ โธมัส อดีตแชมป์มินิฟลายเวต IBF แต่สุรชัยก็ทำได้เพียงแค่แพ้คะแนน 12 ยกไปแบบคู่คี่ จนได้กลับไปชิงแชมป์กับโธมัสอีกครั้งและก็แพ้คะแนนไปเช่นเดิม อย่างไรก็ตามหลังกลับมาพักร่างกายแค่ 3 เดือน สุรชัยก็ได้โอกาสขึ้นชิงแชมป์เปเปอร์เวต WBU ที่ว่างอยู่กับ เฟอร์นันโด้ มาติเนซ อดีตผู้ท้าชิงแชมป์มินิฟลายเวตและจูเนียร์ฟลายเวต WBO ชาวเม็กซิกัน ที่เวทีมวยช่อง 7 สีในศึกเปิดตัวชิงแชมป์ WBU สถาบันมวยโลกแห่งใหม่ในเมืองไทย ซึ่งมีการชิงแชมป์โลกมากถึง 5 คู่ซ้อน และสุรชัยก็ถล่มมาติเนซพ่าย TKO ไปในยกที่ 5 ได้ครองแชมป์ในวันที่ 5 สิงหาคม 2538

สุรชัยขึ้นป้องกันตำแหน่งครั้งแรกชนะ
KO2 โจโจ้ อิดาโน่ ไปอย่างง่ายดายในวันที่ 23 ธันวาคม 2538 ก่อนจะขึ้นอุ่นเครื่องเพียงอย่างเดียวตลอดทั้งปี 2539 เพราะ WBU เริ่มจะถูกลดทอนความสำคัญลงไปจากโปรโมเตอร์ชาวไทย พอขึ้นปี 2540 ก็ป้องกันตำแหน่งชนะ KO5 อดีตแชมป์มินิฟลายเวตแอฟริกาใต้อย่าง ฟิลดิเล่ งีงี่ เมื่อวันที่ 18 มกราคม ก่อนที่จะพลาดท่าพ่ายคะแนน โรแลนโด้ โทโยกอน นักชกตากาล๊อก ที่จังหวัดอุดรธานีเสียแชมป์ไปเมื่อวันที่ 18 เมษายน ในปีนั้นนั่นเอง โดยสุรชัยไม่มีโอกาสที่จะชิงแชมป์คืนอีกเลย เพราะทางเมืองไทยตัดขาดกับ WBU ไปแล้วเรียบร้อย

อย่างไรก็ตามสุรชัยยังคงขึ้นชกมวยอีก 3 ปี ซึ่งเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ 5 ครั้ง และแพ้ 2 ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายแพ้คะแนน 10 ยกให้กับ เชี่ยวชาญ ธนเศวต (บัวสุวรรณ) ในการชิงแชมป์จูเนียร์ฟลายเวตเวทีราชดำเนิน เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 และจากนั้นก็ได้แขวนนวมไปในที่สุด

(ต้นฉบับภาพประกอบจากนิตยสารโลกกำปั้น)

ยอดดำรงค์ สิงห์วังชา



ชื่อนักมวย: ยอดดำรงค์ สิงห์วังชา

ชื่อจริง:
ำรงค์ คงสุข

วันเดือนปีเกิด:
16 มีนาคม 2520

ภูมิลำเนา:
จ. อุทัยธานี

สถิติ:
45-7-1; 20KO

เกียรติยศ
:
แชมป์แบนตั้มเวตประเทศไทย (ราชดำเนิน) (2541-2542)
แชมป์ซูเปอร์แบนตั้มเวตเฉพาะกาล
PABA (2542-2544)
แชมป์ซูเปอร์แบนตั้มเวต PABA (254
4-2545)
แชมป์ซูเปอร์แบนตั้มเวต
WBA (2545)
แชมป์เฟเธอร์เวตเฉพาะกาล PABA (2546)


ยอดดำรงค์เป็นนักชกดาวรุ่งอีกคนหนึ่งที่ได้ครองแชมป์แบนตั้มเวตเวทีราชดำเนิน ซึ่งก่อนหน้านั้นเขาชนะรวดมา 10 ไฟต์ซ้อน ก่อนที่จะชิงแชมป์ที่ว่างนี้ได้ด้วยการชนะคะแนน เลิศไทย ใหม่เมืองคอน เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2541 จากนั้นก็ป้องกันแชมป์เอาไว้ได้ 3 ไฟต์ กับอุ่นเครื่องอีกหลายครั้ง ก่อนจะขึ้นชิงแชมป์ซูเปอร์แบนตั้มเวตเฉพาะกาล
PABA เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2542 และสามารถเอาชนะคะแนน 12 ยก เฮร์รี่ย์ มากาวิมบัง จากอินโดนีเซีย คว้าแชมป์ไปครอง


เขาป้องกันตำหน่งเอาไว้ได้ 3 ไฟต์ และอุ่นเครื่งออีกหลายครั้งก็ได้โอกาสบินไปชกหาแชมป์หนึ่งเดียวกับ บูลัน บูเกียร์โซ่ เจ้าของแชมป์ชวอิเหนาเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 และก็เป็นฝ่ายเอาชนะ
KO6 คว้าแชมป์ตัวจริงมาได้อย่างภาคภูมิ ซึ่งผลจากไฟต์นี้บูเกียร์โซ่ต้องเข้าโรงพยาบาลด้วยอาการเลือดออกในสมองแต่ไม่รุนแรงจนถึงกับต้องผ่าตัดแต่อย่างใด

ยอดดำรงค์ขึ้นชิงแชมป์ซูเปอร์แบนตั้มเวต
WBA มาครองได้ด้วยการชนะคะแนน 12 ยกอย่างเป็นเอกฉันท์เหนือต่อ โยเบอร์ ออร์เตก้า แชมป์จากเวเนซูเอล่าที่นครราชสีมา เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2545 และเสียแชมป์ด้วยการแพ้ KO8 โอซามุ ซาโตะ ถึงแดนปลาดิบ ในวันที่ 18 พฤษภาคมปีเดียวกัน จัดได้เป็นแชมป์โลกที่มีอายุการครองตำแหน่งสั้นมากคนหนึ่ง ซึ่งรวมเวลาครองแชมป์เพียง 87 วันเท่านั้น


เขากลับมาภาคใหม่เลื่อนรุ่นไปชกพิกัดเฟเธอร์เวตอยู่ระยะหนึ่ง จนได้ครองแชมป์เฟเธอร์เวตเฉพาะกาล
PABA ด้วยการชนะคะแนน 12 ยก เหนือต่อ รุ 4K” เคฟคัทเช่ นักชกฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2546 ก่อนจะป้องกันแชมป์ได้หนึ่งครั้งด้วยการชคะแนนเคฟคัทเช่อีกหน แต่เขาก็กลับมาชกในพิกัด 122 ปอนด์ในเวลาต่อมา

ยอดดำรงค์ที่รั้งเบอร์หนึ่งของรุ่นอีกครั้ง ขึ้นชิงแชมป์ไฟต์บังคับกับ มาห์ย่าร์ มงชิปูร์ ไปเมื่อวันที่
9 .. 2547 แต่ก็แพ้ทีเคโอยก 6 เท่านั้นแบบสู้กันไม่ได้ อย่างไรก็ตามเขายังกลับมาอุ่นเครื่องชนะ 4 ครั้งรวดแล้วในปี 2548 และรอเวลาชิงแชมป์โลกอีกสักครั้ง

ปีนี้ยอดดำรงค์บินไปชกที่ญี่ปุ่นแพ้คะแนน โชจิ คิมูระ เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 49 แถมอีก 2 เดือนถัดมายังไปถูก ริว มิยากิ ถล่มลำตัวพ่าย
TKO ไปในยกที่ 6 เมื่อ 11 มิถุนายน 2549 ทำท่าจะไม่รุ่งซะแล้ว แถมต่อมายังถูกนักชกรุ่นน้อง ชลธาร อ.พิริญะภิญโญ ถล่มแพ้คะแนนไปขาดลอยชิงแชมป์เฟเธอร์เวต ABCO ไม่สำเร็จ เมื่อ 25 กันยายนปีเดียวกันนั้นเอง

ปี 2550 ยอดดำรงค์ขึ้นชก 2 ครั้ง แพ้รวด โดยเป็นการชิงแชมป์เส้นเดิมกับชลธาร แต่คราวนี้ถูกน็อคไปแค่ยกที่ 7 เท่านั้น เมื่อ 15 มิถุนายน 2550 ก่อนจะมาถูก ไท ต.ศิลาชัย ถล่มแพ้
TKO5 ไปเมื่อเดือนสิงหาคมปีเดียวกันนั่นเอง

(ต้นฉบับภาพประกอบจากเว็บไซด์ต่างประเทศ)

พิชิต ช.ศิริวัฒน์



ชื่อนักมวย: พิชิต ช.ศิริวัฒน์

ชื่อจริง:
มโภชน์ หาญวิชาชัย

วันเดือนปีเกิด:
31 มกราคม 2518

ภูมิลำเนา:
จ. ชัยภูมิ

สถิติ:
34-3-0; 15
KO

เกียรติยศ
:
แชมป์ไลต์ฟลายเวต
PABA (2538-2539)
แชมป์ไลต์ฟลายเวต WBA (2539-2543)


พิชิตเดิมใช้ชื่อชกมวยว่า พิชิตน้อย ศิษย์บางพระจันทร์ เพราะเขาเป็นน้องชายของ พิชิต ศิษย์บางพระจันทร์ อดีตแชมป์ฟลายเวต
IBF ผู้ไม่เคยแพ้ใครนั่นเอง เขาขึ้นชิงแชมป์ไลต์ฟลายเวต WBA ครั้งแรกกับยอดมวยจอมเก๋าจากเวเนซูเอล่า ราฟาเอล "ลีโอ" กาเมซ แต่พลาดท่าถูกน็อคในยกที่ 6 ทั้งๆที่ทำคะแนนนำมาสุดกู่ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2537


อย่างไรก็ตามหลังจากนั้นพิชิตก็ได้โอกาสขึ้นเป็นแชมป์
PABA รุ่นเดียวกันนี้ เมื่อเป็นฝ่ายเอาชนะคะแนน 12 ยก อโปโลนาริส อาริส เฮตูบัน นักชกอิเหนาไปได้อย่างเป็นเอกฉันท์ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2538 และป้องกันตำแหน่งเอาไว้ได้ 1 ครั้ง ก่อนจะได้โอกาสทองชิงแชมป์ไลต์ฟลายเวต WBA อีกครั้งกับแชมป์โลกคนใหม่ชาวญี่ปุ่น เคอิจิ ยามากูชิ ซึ่งในไฟต์นี้พิชิตชิงสวนหมัดโป้งปิดบัญชีส่งจอมลีลาจากแดนปลาดิบพ่าย TKO 2 ไปอย่างง่ายดายได้เป็นแชมป์โลกสมใจ

พิชิตป้องกันตำแหน่งไว้ได้
5 ครั้งก่อนจะถูกปลดเพราะไม่ได้ป้องกันตำแหน่งนานเกินไป เกือบ 2 ปีต่อมาเขาได้ชิงแชมป์เส้นเดิมอีกครั้งกับ โรแซนโด้ อัลวาเรซ แชมป์จากนิการากัวแต่ก็พลาดแพ้ TKO 12 ไปอย่างน่าเสียดาย เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2545

อย่างไรก็ตามเขายังสู้ต่อไป จนได้กลับมาเป็นรองแชมป์โลกอันดับสูง และได้ไปซ้อมมวยพร้อมเป็นเทรนเนอร์ให้กับค่าย
"อิโอกะ ยิม" ของอดีตแชมป์โลกรุ่นสตรอว์เวต WBC และไลต์ฟลายเวต WBA ฮิโรกิ อิโอกะ ที่ญี่ปุ่น ก่อนจะขึ้นชกแพ้ TKO8 จุนอิชิ เอบิซูโอกะ ทั้งที่ได้นับก่อน 2 ครั้ง แต่หมดแรง เลยโดนนักชกญี่ปุ่นไล่ถลุงจนถูกนับ 8 ในยกที่ 8 และถูกยำข้างเดียวจนกรรมการต้องแยกนับก่อนจะยุติการชกไปในที่สุด ซึ่งเชื่อกันว่าพิชิตไม่มีกำลังใจเพราะปัญหาส่วนตัวที่เมืองไทย

ล่าสุดพิชิตได้ขึ้นชกอีกครั้งหลังเคลียร์ปัญหาทุกอย่างเรียบร้อย เมื่อ 14 ต.ค. 50 และเอาชนะ ยูกิ มาราอิ นักชญี่ปุ่นไปได้ด้วยเสียงข้างมากในกำหนด 8 ยก พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น "พิชิต ไดเจ้น" ตามสปอนเซอร์แล้ว
อย่างไรก็ตามเขาได้เผยเมื่อครั้งกลับมาปีใหม่ที่เมืองไทยปี 2551 ว่า เขาขึ้นชกเล่นๆไม่ได้จริงจังอะไร และคาดว่าจะเก็บเงินทองอยู่ที่ญี่ปุ่นอีกสัก 2 ปี ก่อนที่จะกลับมาบ้านเกิดต่อไป

ต้นฉบับภาพประกอบจากนิตยสารมวยโลก

วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ศรพิชัย กระทิงแดงยิม



ชื่อนักมวย: ศรพิชัย กระทิงแดงยิม

ชื่อจริง:
ิคม ชูบุญ

วันเดือนปีเกิด: 1 พฤษภาคม 2517

ภูมิลำเนา:
จ. กำแพงเพชร

สถิติ:
30-4-1
;19KO

เกียรติยศ
:
แชมป์ฟลายเวต
WBU (2539-2541)
แชมป์ซูเปอร์ฟลายเวต PABA (2541-2542)
แชมป์ฟลายเวต WBA (2542-2543)


ศรพิชัยเป็นมวยหมัดหนักรายหนึ่งที่ต้องลงทุนสูงทุกครั้งที่ชก เขาขึ้นครองแชมป์ฟลายเวต
WBU โดยการเอาชนะคะแนนแชมป์เก่าชาวเปอร์โตริโก แองเจล อัลมิน่า เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2539 จากนั้นก็ขึ้นป้องกันตำแหน่งไว้ได้ 4 ครั้ง ก่อนที่จะต้องชกนอกรอบอย่างเดียวเพราะทางไทยกำลังบอยคอต WBU จนกระทั่งถูกปลดออกจากตำแหน่งไปในที่สุด

อย่างไรก็ตามปีต่อมาเขาก็คว้าแชมป์ซูเปอร์ฟลายเวต
PABA มาครองได้ด้วยการชนะ KO2 โซซิโม่ เดลกาโด้ นักชกจากฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2541 ก่อนจะได้ขึ้นชิงแชมป์ฟลายเวต WBA ในวันที่ 3 กันายน 2542 และเขาก็ต่อสู้กับ ราฟาเอล "ลีโอ" กาเมซ แชมป์ชาวเวเนซูเอล่าได้อย่างสนุกชนิดเจียนไปเจียนอยู่ด้วยกัน และในยกที่ 3 เขาก็ส่งกาเมซหงายหลังวัดพื้นถูกนับ 8 เป็นครั้งแรก แต่หลังจากนนั้นกาเมซก็ฟื้นกลับมาคุมเกมการชกเอาไว้ได้และซัดเอาศรพิชัยเมาไปเมามา แต่แล้วในยกที่ 8 ขณะที่กาเมซกำลังไล่ยำศรพิชัยอยู่นั้น ศรพิชัยกัดฟันบวกหมัดซ้ายเต็มแรงส่งกาเมซหงายหลังเหยียดยาวถูกนับ 10 ไปแบบพลิกปฐพี และยกนี้เองได้รับการยกย่องเป็น "ยกยอดเยี่ยมแห่งปี" จากหลายสำนักด้วยกัน

อย่างไรก็ตามเขาป้องกันแชมป์ได้ครั้งเดียวก็ต้องเสียตำแหน่งให้กับยอดมวยชาวเปอร์โตริโก้ อีริค โมเรล ด้วยการแพ้คะแนนเป็นเอกฉันท์ที่ไมอามี่ สหรัฐอเมริกาในวันที่ 5 สิงหาคม 2543

ศรพิชัยพยายามกลับมาชกไต่อันดับอีกแต่ก็มีแพ้และเสมอแทรกอยู่อย่างละ
1 ครั้ง ก่อนที่ 2 ไฟต์ล่าสุดจะพลาดท่าพ่าย TKO 2 มวยโนเนมจากคองโก มานูอี้ พาธีย์ คาบ้าน และออกไปพ่าย TKO 9 จุน โทริอูมิ ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อต้นปี 2547 ก่อนจะแขวนนวมไปในที่สุด

(ต้นฉบับภาพประกอบจากนิตยสารมวยโลก

ศิริมงคล สิงห์วังชา



ชื่อนักมวย: ศิริมงคล สิงห์วังชา

ชื่อจริง: ศิริมงคล เอี่ยมท้วม

วันเดือนปีเกิด:
2 มีนาคม 2520

ภูมิลำเนา:
จ. ปทุมธานี

สถิติ:
59-2-0; 33KO

เกียรติยศ
:
แชมป์จูเนียร์แบนตั้มเวต WBU (2538)
แชมป์แบนตั้มเวต WBU (2538-2539)
แชมป์แบนตั้มเวตเฉพาะกาล WBC (2539-2540)
แชมป์แบนตั้มเวต WBC (2540)
แชมป์ซูเปอร์เฟเธอร์เวต WBC (2545-2546)

แชมป์ซูเปอร์เฟเธอร์เวต ABCO (2550)
แชมป์ซูเปอร์ไลต์เวต PABA (2550-ปัจจุบัน)


ศิริมงคลเริ่มชกมวยเมื่อปี 2537 ในสายของ "บิ๊กผมอึ่ง" สหสมภพ ศรีสมวงศ์ ผู้กว้างขวางในสภามวยโลกยุคนั้นของเมืองไทย ไฟต์แรกก็เอาชนะคะแนน 6 ยก ฤทธิชัย เกียรติประภัสร์ มวยเก๋ากว่าไปได้อย่างง่ายดาย ศิริมงคลชนะรวด 8 ครั้งก็ได้โอกาสขึ้นชิงแชมป์จูเนียร์แบนตั้มเวต WBU ที่ว่างอยู่เป็นตำแหน่งแรกที่เวทีมวยช่อง 7 สี กับ ฆวนนิโต้ "บอย" คูม่า นักมวยฟิลิปปินส์ และ "เจ้าโอ๋" ก็ต้อนแต้มขาดลอยได้ครองแชมป์เส้นแรกอย่างงดงามเมื่อ 5 สิงหาคม 2538 แต่ต่อมาอีกแค่ 4 เดือน "เจ้าโอ๋" ก็ทนรีดน้ำหนักต่อไปไม่ไหวกระโดดข้ามรุ่นมาชิงแชมป์ที่ว่างของสถาบันเดียวกันทันทีในวันที่ 23 ธันวาคม 2538 และเป็นฝ่ายเอาชนะคะแนน มิเกล เอสปิโนซ่า จากเม็กซิโกไปได้ขาดลอยอีกครั้ง กลายเป็นแชมป์โลก 2 รุ่นในทันที

เจ้าโอ๋ป้องกันแชมป์ครั้งเดียวก็สร้างชื่อด้วยการไล่ถลุงนักชกรุ่นพี่อย่าง เขาใหญ่ มหาสารคาม (เถลิงศักดิ์ หรือ ถนอมศักดิ์ ศิษย์โบ๊เบ๊) คาคอกไปแค่ยกที่ 3 ก่อนที่ลูกพี่ใหญ่จะผลักดันให้ข้ามห้วยมาชิงแชมป์เฉพาะกาล WBC รุ่นเดียวกันเอาชนะน็อคยก 5 โฮเซ่ หลุยส์ บูเอโน่ ชนิดคู่ชิงแชมป์ที่ว่างหลับกลางอากาศเลยทีเดียวเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2539 จากนั้นพอเจ้าของตำแหน่งตัวจริง เวยน์ แม็คคัลลัฟ สละตำแหน่งข้ามรุ่น เจ้าโอ๋ก็กลายเป็นแชมป์ตัวจริงไปโดยสมบูรณ์ และขึ้นป้องกันตำแหน่งเอาไว้ได้ 3 ไฟต์ ก่อนจะต้องลดน้ำหนักจนซีดเซียวไปป้องกันแชมป์กับ จิชิโร่ ซึโยชิ ที่แดนปลาดิบ ผลก็คือเจ้าโอ๋แพ้ภัยตัวเองพ่าย TKO ไปในยกที่ 7 เสียแชมป์ไปเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2540

เจ้าโอ๋กลับมาภาค 2 อุ่นเครื่องถี่ยิบถึง 23 ครั้ง พร้อมกับได้ผู้จัดการคนใหม่ สุชาติพิสิฐวุฒินันท์ แห่งนครหลวงโปรโมชั่น และได้โอกาสชิงแชมป์ซูเปอร์เฟเธอร์เวต WBC ที่ว่างกับ เคนโกะ นากาจิม่า ที่โตเกียว และก้เป็นฝ่ายชนะน็อคไปแค่ยกที่ 2 กลายเป็นแชมป์โลก 3 รุ่นในทันทีเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2545 แต่คราวนี้เขาป้องกันแชมป์เอาไว้ได้เพียงครั้งเดียว ก็เดินทางออกไปแพ้คะแนน เฮซุส ชาเวซ ถึงเมืองออสติน มลรัฐเท็กซัส เมื่อวันที่15 สิงหาคม 2546 ชนิดที่ไม่กล้าแลกกับคู่ชกเท่าไหร่จนทำให้ผู้จัดการตัวจริงต้องขายต่อให้ทางผู้จัดการร่วม นริส สิงห์วังชา นำไปปลุกปั้นเองในสังกัด นริส โปรโมชั่น จนขณะนี้ก้าวเป็นรองแชมป์อันดับ 2 รุ่นไลต์เวตของ WBC แล้ว

ศิริมงคลได้เดินทางไปชกตัดเชือกกับ ไมเคิล คล๊าค รองอันดับ 1 ในขณะนั้นที่ลาสเวกัส เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2548 และก็เอาชนะ TKO ไปในยกที่ 7 อย่างสวยงาม พร้อมทั้งได้สิทธิในการขึ้นชิงแชมป์ไลต์เวต WBC ต่อไป

แต่เนื่องจากว่าทางแชมป์โลก ดีเอโก้ คอร์ราเลส นั้น มีพันธะที่จะล้างตากับคู่ปรับเก่า โฮเซ่ หลุยส์ คัสติญโญ่ อดีตแชมป์เก่าซึ่งปัจจุบันเป็นรองอันดับ 1 และเกิดการบาดเจ็บขึ้นมา จึงมีข่าวว่า “เจ้าโอ๋” กำลังจะได้ชิงแชมป์เฉพาะกาลที่ว่างแล้วในราวๆเดือนเมษายน 2549 นี้ กับแชมป์ OPBF ชาวญี่ปุ่น ชิคาชิ อินาดะ รองเบอร์ 7 ที่สหรัฐอเมริกา แต่โชคร้าย "เจ้าโอ่" เกิดตรวจพบเชื้อไวรัสบีจึงอดไปชิงแชมป์โลกเฉพาะกาลในที่สุด

อย่างไรก็ตามเจ้าโอ๋กลับมาชกในเมืองไทยชนะไปแล้ว 1 ครั้ง และหากเชื้อไวรัสบีหายไปได้ก็น่าที่จะได้โอกาสทองของชีวิตอีกหนหนึ่ง

ต่อมาเจ้าโอ๋ได้เซ็นต์สัญญาไปชกมวย K-1 แล้วจำนวน 4 ไฟต์ ฟันเงินไปหลายล้านบาท แต่กลับมีปัญหากับเสี่ยนริสจนต้องซื้อตัวเองคืน พร้อมทั้งขึ้นชกมวยไถ่ตัวเองโดยหักค่าตัว 50% ทุกไฟต์ โดยเจ้าตัวขึ้นชกชนะไปแล้ว 1 ครั้ง อย่างไรก็ตามปรากฏว่าเจ้าโอ๋ต้องเลิกสัญญาชก K-1 ก่อนกำหนด เนื่องจากมีปัญหาเรื่องถูกเบี้ยวค่าตัว ทำให้ต้องกลับมาชกมวยสากลอย่างเดียว

เจ้าโอ๋ได้โอกาสขึ้นชิงแชมป์ ABCO รุ่นซูเปอร์เฟเธอร์เวต กับนักชกรุ่น้อง ทอง ป.โชคชัย ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2550 แม้ว่าจะต้องดลน้ำหนักจนแทบไม่มีแรงชก แต่เจ้าโอ๋ก็ยังใช้ฝีมือมวยที่เหนือกว่าเอาชนะคะแนนไปได้ 116-112 ทั้ง 3 เสียงคว้าแชมป์มาครองได้สำเร็จ แต่ก็ประกาศสละตำแหน่งไปบนเวทีนั่นเอง เพราะไม่อยากจะลดน้ำหนักมาชกในพิกัดนี้อีกแล้ว

หลังจากนั้นเจ้าโอ๋ก็อุ่นเครื่องชนะน็อคอีก 1 ครั้ง ก็ได้จังหวะขึ้นชิงแชมป์ซูเปอร์ไลต์เวต PABA
ที่ว่าง และก็สามารถเอาชนะคะแนน อาร์เนล ปอร์รัส คู่ชิงจากฟิลิปปินส์ไปขาดลอย คว้าแชมป์ไปครองเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2550

ล่าสุดเจ้าโอ๋บินไปถลุง แชด เบนเน็ตต์ อดีตแชมป์ WBF ชาวออสเตรเลียคาคอกแค่ยกแรก ป้องกันแชมป์ PABA หนแรกเอาไว้ได้เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2551 อย่างสวยงาม


(ต้นฉบับภาพประกอบจากหนังสือพิมพ์มวยสยามรายวัน)

วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2551

พงษ์ศักดิ์เล็ก กระทิงแดงยิม



ชื่อนักมวย: พงษ์ศักดิ์เล็ก กระทิงแดงยิม

ชื่อจริง:
วงศ์กร วันจงคำ

วันเดือนปีเกิด:
11 สิงหาคม 2520

ภูมิลำเนา:
อ. บัวใหญ่, จ. นครราชสีมา

สถิติ:
67-3-1; 35KO


เกียรติยศ
:
แชมป์ไลต์ฟลายเวต WBU (2540-2541)
แชมป์ฟลายเวต WBC (2544-
2550
)

พงษ์ศักดิ์เล็กจัดได้ว่ามีกำปั้นที่สั่งได้คนหนึ่ง เขาครองแชมป์ฟลายเวต WBU ด้วยการชนะน็อค มซูกิซี่ ซิกาลี่ แชมป์จากแอฟริกาใต้แค่ยกแรก เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2540 แต่เขาก็ไม่ได้ป้องกันตำแหน่งเลยตลอดเวลาหนึ่งปีที่ครองแชมป์ เพราะทางไทยได้บอยคอตการจัดมวยชิงแชมป์ WBU ในตอนนั้น จนกระทั่งถูกถอดออกจากตำแหน่งไปในที่สุด

อย่างไรก็ตามเขาก็ใช้เวลาอุ่นเครื่องอีก
3 ปี ก่อนที่จะขึ้นชิงแชมป์ฟลายเวต WBC จาก มัลคอล์ม ทูนาเกา แชมป์ชาวฟิลิปปินส์ ซึ่งพงษ์ศักดิ์เล็กก็เดินลุยใส่ตั้งแต่ยกแรกและก็เป็นฝ่ายถล่มเอาทูนาเกาล้มกลิ้งล้มหงาย 3 ครั้ง จนเอาชนะ TKO 1 ไปได้อย่างง่ายดายชิงแชมป์มาได้สุดสวย เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2544 หลังจากนั้นเขาก็ป้องกันตำแหน่งเอาไว้ได้ 12 ครั้งแล้ว
และเตรียมตัวที่จะทำสถิติป้องกันตำแหน่งให้ได้ 15 ครั้งเป็นอย่างน้อย เพื่อที่จะได้เข้าสู่ทำเนียบหอเกียรติคุณของสภามวยโลกต่อไป

"เจ้ากร" หรือ "วงศ์กร วันจงคำ" ในชื่อจริงนั้น
ดูจะสนอกสนใจในเรื่องการหาทำเลกว้านซื้อที่ดินเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเดินทางตระเวนไปชกที่ใด เป็นต้องสอบถามผู้รู้เกี่ยวกับสนนราคาบ้านและที่ดิน รวมทั้งทำเลค้าขายในย่านนั้นเป็นพิเศษ เมื่อถามถึงเหตุผล พงษ์ศักดิ์เล็กเล่าว่า

"ผมเริ่มชกมวยไทยตั้งแต่อายุ 12 ขวบ เป็นมวยแถมคู่ก่อนเวลา ไต่เต้าจนกระทั่งเป็นมวยคู่เอก เส้นทางมวยสากลอาชีพก็ไม่ต่างไปจากกัน ครอบครัวของผม พ่อแม่เลิกกันตั้งแต่ก่อนเป็นแชมป์โลก ตัวผมเองจึงยังไม่คิดจะมีแฟนตอนนี้ แต่อยากมุ่งมั่นกับการชกมวยเพียงอย่างเดียว เพื่อหวังเก็บเงินเป็นทุนไว้ เมื่อยามเลิกมวยจะได้ไม่ลำบาก เมื่อถึงเวลาแขวนนวม ผมฝันว่าจะได้มีครอบครัวอันอบอุ่น ไม่แตกแยกและแร้นแค้นเหมือนชีวิตผมในวัยเด็ก"


นั่นคือความมุ่งมั่นตั้งใจจริงของแชมป์โลกไทยวัย
26 ปี ที่นักมวยไทยอีกหลายต่อหลายคน น่ายึดถือเป็นแบบอย่าง !!!

การป้องกันแชมป์ครั้งที่ 12 เขาสามารถชนะเทคนิเกิ้ลโดยคะแนนคู่ปรับเก่า ไดสุเขะ ไนโตะ อดีตคู่ชิงแชมป์คนที่ 4 ในวันที่ 10 .. 2548 ที่ผ่านมา ที่เขาเคยเอาชนะน็อคไปแค่ 34
วินาทีของยกแรกที่เมืองไทย อันเป็นสถิติโลกน็อคเร็วที่สุดของรุ่นฟลายเวตอยู่ในปัจจุบัน และการป้องกันแชมป์ครั้งที่ 13 ที่เมืองไทยเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549 ก็สามารถชนะคะแนน กิลเบอร์โต้ เค็บ-บาส ผู้ท้าชิงชาวเม็กซิกันไปได้อย่างขาดลอย

พงษ์ศักดิ์เล็กป้องกันตำแหน่งครั้งที่ 14 และ 15 เอาไว้ได้ด้วยการชนะคะแนนผู้ท้าชิงชาวญี่ปุ่น ไดโกะ นาคาฮิโร่ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2549 และชนะ
TKO4 (แตก) ผู้ท้าชิงชาวเม็กซิกัน ชาวอีเวอราโด้ โมราเลส ในวันที่ 30 มิถุนายน 2549 จนได้รับการบรรจุเข้าหอเกียติคุณของ WBC
ไปแล้วตามกฏ

เขาป้องกันแชมป์ครั้งที่ 16 เอาไว้ได้ด้วยการชนะคะแนนผู้ท้าชิงชาวแอฟริกาใต้ โมเนลิซี่ มยิฮิซ่า มเยเกนี่ ในไฟต์บังคับ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2549 ที่ผ่านมา ก่อนที่จะป้องกันแชมป์ครั้งที่ 17 ชนะ
TKO7
ทโมโนบุ ชิมิสึ เมื่อ 6 เมษายน 2550 ก่อนที่ไปพลาดท่าเสียแชมป์พ่ายคะแนน ไดสุเขะ ไนโตะ แบบที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนในการการป้องกันแชมป์ครั้งที่ 18

จากนั้นอีก 3 เดือนต่อมาพงษ์ศักด์เล็กก็กลับมาอุ่นเครื่อง และชนะไปแล้ว 2 ครั้ง ก่อนที่จะได้ชิงแชมป์โลกคืนจากไนโตะเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2551 แต่ก็ทำได้แค่เสมอเท่านั้น ยังชิงแชมป์คืนไม่สำเร็จ


(ข้อความบางส่วนจากคอลัมน์ มุมนักสู้ นสพ.ข่าวสด ฉบับที่ 5115 วันที่ 30 พฤศจิกายน ..2547 ปีที่ 14 และต้นฉบับภาพประกอบจากเว็บไซด์สำนักข่าวต่างประเทศ)


Special Article

เวทีชีวิตของ "พงษ์ศักดิ์เล็ก กระทิงแดงยิม"

ผู้จัดการรายวัน 15 มกราคม 2550

จากชีวิตที่ไม่เคยคิดแม้แต่จะก้าวขึ้นไปเหยียบผืนผ้าใบ แต่สุดท้ายแล้วกลับก้าวขึ้นสู่การเป็นแชมป์โลกผู้ยิ่งใหญ่จนได้จารึกชื่อในระดับฮอลล์ ออฟเฟม แถมในปี 2550 นี้กำลังจะทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ไปกว่านั้น นั่นคือการทำลายสถิติป้องกันแชมป์ติดต่อกันมากที่สุด 19 ครั้งของ เขาทราย แกแล็คซี่ ยอดนักชกตลอดกาลของเมืองไทย...

นั่นคือเรื่องราวชีวิตคร่าวๆของ "พงศกร วันจงคำ" หรือที่แฟนมวยทุกคนรู้จักกันดีในนาม "พงษ์ศักดิ์เล็ก กระทิงแดงยิม" เด็กหนุ่มผู้ก้าวเดินจากการทำงานในอู่ซ่อมรถ มาชกมวยไทย และสุดท้ายประสบความสำเร็จอย่างงดงามในฐานะเจ้าของเข็มขัดแชมป์โลก WBC และป้องกันมาได้แล้วถึง 16 ครั้ง มีเงินมีทองเป็นกอบเป็นกำ แต่เชื่อหรือไม่ว่า ยอดนักชกผู้นี้ยังเป็นคนที่เสมอต้นเสมอปลาย และมีความเป็นอยู่มัธยัสถ์พอเพียงอย่างเหลือเชื่อ แม้จะเป็นถึงแชมป์โลกที่มีฐานะค่อนข้างดี เนื่องจากเดินทางไปป้องกันตำแหน่งต่างแดนตลอดจึงมีเงินเก็บกว่า 5 ล้านบาทแล้ว แต่เท้าของ พงษ์ศักดิ์เล็ก ยังไม่เคยลอยจากพื้นแม้แต่นิดเดียว

กระโจนสู่ผืนผ้าใบ

จากชีวิตวัยเยาว์ของเด็กชายพงศกร วันจงคำ ซึ่งไม่เคยคิดที่จะเป็นนักมวยเลย จนวันหนึ่งเหมือนโชคชะตาฟ้าลิขิต ขีดเส้นให้เด็กหนุ่มผู้นี้ก้าวขึ้นสู่ผืนผ้าใบ โดยตอนนั้นเด็กชายพงศกรผู้นี้อายุเพียง 11 ปี และกำลังศึกษาอยู่ชั้น ป.6 อยู่ที่โคราชบ้านเกิด บังเอิญแถวบ้านมีงานวัด แล้วโปรโมเตอร์ขาดนักมวยอยู่พอดี เวลากำลังกระชั้นเข้ามา หาใครไม่ทันหันไปไม่เห็นใครแล้วประกอบกับโปรโมเตอร์รู้จักกับที่บ้านพอดี เลยลองมาชวนเด็กชายพงศกรซึ่งตอนนั้นไม่เคยชกกับใคร เป็นเพียงเด็กในอู่ซ่อมรถของพ่อ แต่ตัดสินใจแบบตกกระไดพลอยโจนขึ้นชกทั้งๆที่ไม่รู้เรื่องมวยเลย

ผลการชกในไฟต์นั้นเหมือนเป็นลางดี เมื่อเด็กอู่รถคว้าชัยชนะมาได้อย่างเหลือเชื่อ โดยเจ้าตัวเองเผยว่าได้เงินรางวัลจากการชกครั้งนั้นเป็นจำนวนเงิน 100 บาท แถมบังเอิญยิ่งกว่าในการชกไฟต์นั้นเกิดมีแมวมองมาชมอยู่ด้วย แอบติดใจฝีไม้ลายมือของเขา จึงได้ตามจีบเข้าค่ายทันที แรกๆเจ้ากรก็ปฏิเสธเพราะไม่เคยมีความตั้งใจจะเป็นนักมวย แต่สุดท้ายทนลูกตื้อไม่ไหว ตัดสินใจลองชกมวยไทยดู

เจ้ากร หรือ "มังกรทอง ศิษย์เซียนเมฆ" ฉายาที่ใช้ในการชกมวยไทยระยะแรกที่โคราช และต่อมาเลื่อนระดับเข้ามาแถวตะเข็บกรุงเทพฯ ค่าตัวเพิ่มขึ้นมาเป็นหลักหลายพันบาท

หลังจากนั้น พงษ์ศักดิ์เล็ก มีโอกาสชกครั้งแรกในกรุงเทพฯที่สนามมวยลุมพินีโดยใช้ชื่อ "พงษ์ศักดิ์เล็ก ศิษย์คะนองศึก" เรียกได้ว่าเจ้ากรชกมวยไทยหากินมาเรื่อยจากค่าตัว 100 บาท จนกระทั่งไต่ระดับมาได้ถึงสองหมื่นบาท ก่อนจะหันเหไปชกมวยสากลอาชีพในที่สุด

ความสำเร็จมิได้มาเพราะโชคช่วย

แน่นอนทางแห่งความสำเร็จจะโรยด้วยกลีบกุหลาบย่อมไม่มี การเริ่มต้นชีวิตนักมวยของ พงษ์ศักดิ์เล็ก นั้นสร้างความเหน็ดเหนื่อยและท้อแท้ให้กับตัวเขาหลายต่อหลายเที่ยว จนคิดจะหันหลังให้กับผืนผ้าใบและเดินทางกลับโคราชหลายหน แต่ดีที่ครูมวยสมัยนั้นทัดทานเอาไว้ทุกครั้ง มิฉะนั้นคงไม่มี พงษ์ศักดิ์เล็ก กระทิงแดงยิม เช่นทุกวันนี้

ตัวเขาเองเปิดเผยว่า หลังจากผ่านจุดที่เหนื่อยที่สุดไปแล้ว ก็เริ่มรักและติดใจการชกมวยขึ้นมา โดยเปิดเผยว่าเคล็ดลับของความสำเร็จที่ทำให้ตัวเขาเองเดินมาได้จนถึงจุดนี้คือความขยัน และซื่อสัตย์ต่อตนเอง นอกจากนี้แล้วคนใกล้ตัวเขายังแอบเผยอีกว่า พงษ์ศักดิ์เล็ก ยังเป็นคนที่เคร่งครัดกับเรื่องของเวลามาก นัดไปไหน ไม่เคยสาย แถมบางครั้งไปก่อนเวลาเป็นชั่วโมงก็เคยมี

หลังความสำเร็จด้านการชกมวยไทยพอสมควร ในที่สุดจากสายตา ความเชื่อมั่นและการผลักดันของ "เสี่ยเน้า" วิรัตน์ วชิรรัตนวงศ์ รวมทั้งทีมงาน"เพชรยินดี" ทำให้พงษ์ศักดิ์เล็กได้ผันตัวเองมาชกสากลจนได้ก้าวขึ้นไปสู่การชิงแชมป์โลก และกระชากเข็มขัดมาได้จาก มัลคอล์ม ทูนากัล ที่จังหวัดพิจิตร สร้างความชื่นชมให้แก่แฟนมวยชาวไทยในที่สุด

จากวันนั้นถึงวันนี้ พงษ์ศักดิ์เล็ก นักมวยค่าตัว 100 บาทได้กลายเป็นแชมป์โลก รุ่นฟลายเวต พิกัดน้ำหนัก 112 ปอนด์ ผู้ยิ่งยงของ WBC หรือสภามวยโลก เมื่อทำสถิติป้องกันเข็มขัดติดต่อกันมาถึง 16 ไฟต์รวด และได้จารึกชื่อเข้าสู่หอเกียรติยศ หรือ Hall of Fame ของ WBC ไปเรียบร้อยแล้ว


จากแชมป์โลกผู้ยิ่งใหญ่สู่ฮอลล์ ออฟ เฟม

ทั้ง 16 ครั้งของการป้องกันเข็มขัดนั้น แม้พงษ์ศักดิ์เล็กเผยว่าประทับใจไฟต์แรกซึ่งกระชากแชมป์มาได้จากทูนากัลมากที่สุดนั้น แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าไฟต์ที่เขาไม่มีวันลืมนั่นก็คือการป้องกันครั้งที่ 15 ซึ่ง "เจ้ากร" พงษ์ศักดิ์เล็ก ขึ้นชกกับ อีเวอราโด้ "เอล ซิฮัว" โมราเลส ผู้ท้าชิงชาวเม็กซิโก

การชกในครั้งนั้นเรียกว่า "ศึกกระทิงแดงท้าประวัติศาสตร์บัลลังก์โลก WBC" ปรากฏว่าประหมัดกันไม่นาน การชกก็จบลงอย่างรวดเร็วเพียงในยกที่ 3 เท่านั้น

โดยตั้งแต่ยกแรกแชมป์โลกชาวไทยเป็นฝ่ายเดินเข้าหา พร้อมทั้งสาวหมัดใส่ผู้ท้าชิงเกือบตลอดเวลา ขณะที่ในยกที่สอง การชกยังคงดำเนินไปในรูปแบบเดิม และเป็นผู้ท้าชิงชาวเม็กซิโกที่เพลี่ยงพล้ำ ถูกส่งลงไปนับ 8 แต่ก็ยังกัดฟันสู้ต่อไปจนหมดยก

การชกในยกที่ 3 พงษ์ศักดิ์เล็ก ยังคงเดินหน้าเข้าหาผู้ท้าชิง พร้อมกับชกจนนักชกแดนจังโก้ร่วงลงไปกองให้กรรมการนับ 8 อีกครั้ง และยังมีแผลแตกบริเวณหางคิ้วขวา จนต้องเรียกแพทย์สนามขึ้นมาดูบาดแผล แต่แพทย์ผู้ตรวจยืนยันว่าบาดแผลยังไม่เป็นอันตรายต่อผู้ท้าชิง จึงอนุญาตให้การชกดำเนินต่อไป

หลังจากนั้น "เจ้ากร" ได้โอกาส จึงไล่ระดมพายุหมัดเข้าใส่แผลแตกของผู้ท้าชิง จนกระทั่งกรรมการต้องเรียกแพทย์สนามเข้าตรวจบาดแผล โมราเลส อีกครั้ง ซึ่งในครั้งนี้นายแพทย์ผู้ชี้ขาดไม่อนุญาตให้นักชกชาวเม็กซิกันชกต่อไปได้ จึงกลายเป็นการแพ้ ทีเคโอ ของโมราเลส

ชัยชนะครั้งนั้นนอกจากจะมีผลให้ พงษ์ศักดิ์เล็ก กระทิงแดงยิม ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 15 ได้สำเร็จแล้ว ยังทำให้เขากลายเป็นนักมวยระดับตำนานเมื่อได้รับเกียรติเสนอชื่อเข้าสู่หอเกียรติยศ "ฮอลล์ ออฟ เฟม" ของสภามวยโลก ต่อจากนักมวยไทยรุ่นพี่อย่าง แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์, ชาติชาย เชี่ยวน้อย และ สด จิตรลดา

เป็นแชมป์โลกแต่ยังใช้ชีวิต "พอเพียง"

แม้จะเป็นแชมป์โลกที่เดินทางไปป้องกันตำแหน่งยังต่างแดนบ่อย ทำให้ได้เงินรางวัลเป็นกอบเป็นกำ จนปัจจุบัน พงษ์ศักดิ์เล็ก ในวัย 29 ปีนั้น ด้วยความมัธยัสถ์ทำให้เขามีเงินเก็บในธนาคารเฉียด 5 ล้านบาท แถมด้วยการซื้อที่ดินสะสมไว้ที่บ้านเกิดโคราชอีกหลายผืนด้วย

ด้วยสถานภาพของพงษ์ศักดิ์เล็กซึ่งปัจจุบันยังไม่ได้แต่งงาน แต่คบหากับแฟนสาวอยู่ ทว่าจากความไม่ประมาทในเส้นทางชีวิตการค้ากำปั้นซึ่งค่อนข้างสั้นและไม่แน่นอน โดยตัวอย่างจากนักมวยรุ่นพี่ซึ่งประสบความยากลำบากหลังแขวนนวมเลิกชกไปแล้วมีให้เห็นอย่างดาษดื่น

แชมป์โลกผู้นี้ยังคงดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงและใช้จ่ายเงินอย่างระมัดระวัง ในปัจจุบันก็ยังอาศัยอยู่ในห้องเล็กๆในค่ายมวยซอยจรัญสนิทวงศ์ 34 เหมือนตอนเข้ามาอยู่กรุงเทพฯใหม่ๆ เนื่องจากตัวเขาเองคิดจะอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯเพียงชั่วคราวเท่านั้น เพราะตั้งเป้าว่าหลังชกอีกเพียง 3-4 ปี ก็จะขอกลับไปใช้ชีวิตที่บ้านเกิดโคราช เพราะไม่ชอบความวุ่นวายในเมืองหลวง

ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ชกมวย พงษ์ศักดิ์เล็ก เผยสาเหตุที่ทำให้ตัวเขาประสบความสำเร็จว่า อยู่ที่ระเบียบ วินัยในการฝึกซ้อมและการบังคับตัวเองให้ได้เท่านั้นเอง จนกระทั่งปัจจุบันเขาก็ยังไม่เคยลืมตัว และระมัดระวังเรื่องเวลาการนัดหมายเป็นอย่างมาก

เผยไม่เคยคิดทำลายสถิติ "เขาทราย"

แน่นอนปี พ.ศ. 2550 หลังจากทีมงาน "เพชรยินดี" และ "เสี่ยตังค์" ปิยะรัตน์ วชิรรัตนวงศ์ ได้ประกาศแผนการบันได 4 ขั้น เพื่อให้ พงษ์ศักดิ์เล็ก ป้องกันตำแหน่ง 4 ไฟต์รวดในปีนี้ โดยหลังจากที่จะมีคิวอุ่นเครื่องในวันที่ 26 มกราคม นี้ หลังจากนั้นก็จะเตรียมตัวป้องกันตำแหน่งไฟต์ที่ 17 ในช่วงเดือนมีนาคม ไฟต์ที่ 18 เดือนมิถุนายน ไฟต์ที่ 19 เดือนกันยายน และสุดท้ายไฟต์ที่ 20 ซึ่งจะทำลายสถิติของ เขาทราย กาแล็คซี่ ในเดือนธันวาคม เพื่อเป็นการฉลองพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย

เจ้าตัวพงษ์ศักดิ์เล็ก ได้เปิดใจถึงเรื่องนี้อย่างอ่อนน้อมถ่อมตนว่า "ผมไม่อยากให้คิดว่าเป็นการทำลายสถิติของพี่เขาทราย พี่เขาเป็นนักชกที่ยิ่งใหญ่ของเมืองไทย และเป็นตำนานไปแล้ว อยากให้คิดว่านี่เป็นสถิติของผมเองไม่เกี่ยวกับใคร ผมจะมองการชกทีละไฟต์เท่านั้น ไม่เคยคิดที่จะทำลายสถิติใคร"

ปูทางหาเลี้ยงชีพในอนาคตไว้แล้ว

นอกจากเรื่องของหมัดๆมวยๆและการทำลายสถิติป้องกันแชมป์แล้ว ตัวพงษ์ศักดิ์เล็ก ก็ยังไม่ประมาท ได้มองไกลไปถึงแผนการวางอาชีพในอนาคตหลังแขวนนวมไปแล้ว โดยนักชกจากโคราชผู้นี้ได้เปิดเผยว่า

"ผมจะขอชกต่ออีก 3-4 ปีเท่านั้น จากนั้นจะขอเดินทางกลับไปอยู่โคราชบ้านเกิด เพราะไม่ชอบอยู่อย่างแออัดในกรุงเทพฯ ขณะนี้ได้เตรียมแผนการลงทุนธุรกิจเล็กๆเอาไว้ อย่างเช่น การเปิดมินิมาร์ท เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไส้กรอกของ ซีพี ก็ได้คุยกันไว้บ้างแล้ว แต่ที่ได้ลงมือทำไปแล้วนั่นก็คือการร่วมลงทุนผลิตครีมนวดไทยแชมเปี้ยน ซึ่งเป็นนวัตกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ซึ่งผมเป็นพรีเซ็นเตอร์ด้วย ลองใช้เองแล้วได้ผลจริง กล้ารับประกัน ใช้อยู่ทุกวัน ช่วยผ่อนคลาย รักษาลดอาการอักเสบ ปวดบวมปวดเมื่อย นอกจากนั้นยังมีผลิตภัณฑ์อีกหลายตัว ที่เด่นก็มี พิมเสนน้ำ ใครสนใจจะใช้หรือรับไปจำหน่ายติดต่อได้ที่เบอร์ 08-1259-2727 และ 08-1584-8382 นอกจากนี้ในอนาคตผมก็ยังอยากจะเปิดโรงเรียนสอนชกมวย ร้านนวดแผนไทย รวมทั้งเปิดสอนการนวดเพื่อผลิตคนนวดที่มีความรู้อย่างจริงๆจังๆด้วย"

สุดท้ายแล้วด้วยสภาพที่วงการมวยสากลของไทยเรากำลังซบเซาและขาดแคลนแชมป์โลกเป็นอย่างมาก แฟนมวยของเราคงต้องเอาใจช่วย พงษ์ศักดิ์เล็ก ให้สามารถรักษาเข็มขัดและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยของเราต่อไปนานๆ นอกเหนือไปกว่านั้นยังต้องส่งใจเชียร์ให้เขาประสบความสำเร็จในสังเวียนชีวิต เหมือนที่เคยทำได้บนเวทีมวยมาแล้วด้วย

* * * * * * * * * * * *

ชื่อจริง : พงศกร วันจงคำ
ชื่อเล่น : กร
เกิด : 11 สิงหาคม พ.ศ. 2520
อายุ : 29 ปี
บ้านเกิด : นครราชสีมา
ส่วนสูง : 163 เซนติเมตร
สถิติการชกสากล : 65-2-0
เทรนเนอร์ : พยัคฆ์ ช.พิมล
ผู้จัดการ : วิรัตน์ วชิรรัตนวงศ์

* * * * * * * * * * * *

เรื่อง - ทีมข่าวกีฬา หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน