วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2551

พเยาว์ พูนธรัตน์



ชื่อนักมวย: พเยาว์ พูนธรัตน์

ชื่อจริง: ร.ต.อ. พงษ์พัฒน์ (พเยาว์) พูนธรัตน์

วันเดือนปีเกิด:
15 ตุลาคม 2499

ภูมิลำเนา:
อ. บางสะพาน, จ. ประจวบคีรีขันธ์

สถิติ:
10-4-0; 7KO

เกียรติยศ
:
แชมป์ซูปอร์ฟลายเวต WBC (2526-2527


พเยาว์ พูนธรัตน์ เป็นนักมวยไทยคนแรกที่ได้เหรียญในกีฬาโอลิมปิคเกมส์

โดยพเยาว์ได้เหรียญทองแดงในปี 2519 ที่กรุงมอนทรีออล, ประเทศแคนาดา

ต่อมาพเยาว์ได้ขึ้นชกอาชีพและได้เป็นแชมป์ซูเปอร์ฟลายเวต WBC โดยการชนะคะแนนไม่เป็นเอกฉันท์เหนือต่อ ราฟาเอล โอโรโน่ แชมป์ชาวเวเนซูเอล่า จากนั้นขึ้นป้องกันตำแหน่งเอาไว้ได้ 1 ครั้ง ก่อนจะบินไปเดิมพันแชมป์กับ จิโร่ วาตานาเบ้ แชมป์จูเนียร์แบนตั้มเวต WBA ที่ประเทศญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามทาง WBA ไม่ยินยอมและปลดวาตานาเบ้ออกจากตำแหน่งก่อนการชกจะเกิดขึ้น ทำให้วาตานาเบ้กลับกลายมาเป็นผู้ท้าชิงของพยาว์แทน และก็เอาชนะคะแนนไม่เป็นเอกฉันท์เหนือต่อพเยาว์แย่งแชมป์ไปได้แบบค้านสายตา


อย่างไรก็ดีพเยาว์ได้บินไปชิงแชมป์คืนอีกครั้ง แต่คราวนี้ถูกวาตานาเบ้ถล่มเอาชนะ TKO ไปในยก 11 ชิงแชมป์ไม่สำเร็จ พเยาว์กลับมาขึ้นชกอีกครั้งในเมืองไทยแพ้คะแนนให้กับ ก้องธรณี พยัคฆ์อรุณ จากนั้นจึงวางนวมไปในที่สุด


ต่อมาพเยาว์ได้ลงสมัครสส. และได้รับเลือกเป็นสส.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ภายใต้สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อย่างไรก็ตามต่อมาพเยาว์ล้มป่วยด้วยโรคทางระบบประสาท ALS (Amyotrophic Lateral Sclerosis) ทำให้ไม่สามารถใช้แขนขาได้สะดวกนักในปัจจุบัน และข้อความต่อไปนี้เป็นรายละเอียดของอาการป่วยของเขา ที่เขาบอกเล่าด้วยตนเอง


"อดีตฮีโร่โอลิมปิกคนแรกของไทย" พเยาว์ พูนธรัตน์ คั้นหัวใจเขียนหนังสือด้วยปากคล้ายเกมผีถ้วยแก้วร้องเรียนผ่านสื่อ หวังเป็นกระบอกเสียงให้รัฐบาลยื่นมือช่วยเหลืออาการป่วย หลังสมาคมมวยและโอลิมปิก ให้เงินช่วยเพียงรายละ 5 พันเท่านั้น ทั้งๆ ที่ค่าใช้จ่ายรักษาสุดโหดเดือนละร่วมครึ่งแสน

จากอาการป่วยด้วยโรคร้ายดังกล่าวทำให้เขาไม่ไม่สามารถที่จะขยับเขยื้อนและพูดจาได้ กลายเป็น "เจ้าชายรถเข็น" มาตั้งแต่ปี 2545 และหมดสภาพการเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎร จ.ประจวบคีรีขันธ์ไปโดยปริยาย ได้ร้องเรียนผ่านสื่อในงานมอบรางวัลนักกีฬายอดเยี่ยมของสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2548 ที่ผ่านมา

พเยาว์ที่เดินทางมาจาก จ.ประจวบคีรีขันธ์ พร้อมกับ นางอดาวัลย์ พูนธรัตน์ ภรรยา ได้แสดงท่าทีตื้นตันใจที่ได้รับรางวัลทำเนียบเกียรติยศนักกีฬาไทย แม้ว่าเขาจะไม่สามารถแสดงออกทางใบหน้าหรือคำพูด ได้เขียนหนังสือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เริ่มป่วยก่อนเดินทางมากรุงเทพฯ ด้วยการใช้ปากคาบหลอดกาแฟแล้วจิ้มไปยังพยัญชนะและสระบนแผ่นกระดาษคล้ายการเล่น "ผีถ้วยแก้ว" แล้วให้คนจดตามรวม 2 หน้า นำมาเป็นเอกสารร้องเรียน โดยมีใจความว่า

"ผมเป็นโรคเอแอลเอสไม่มีทางรักษาได้ ในอังกฤษมีคนเป็นกันมาก บ้านเราก็เป็นหนึ่งในล้าน ผมโชคไม่ดี อาการของโรคจะมีอาการหายใจติดขัด จะกินอาหารก็ลำบาก มีอาการสำลักตลอดเวลา ทุกวันผมต้องต่อสู้กับโรคที่เป็นอยู่ ทุกวันนี้ผมเดินไม่ได้ แขนขาขยับไม่ได้ แต่ความจำและสมองของผมยังดีอยู่ ขอให้ทางรัฐบาลได้จัดงานวิจัย จัดงบประมาณให้มากกว่านี้ จากประสบการณ์การรักษาของผมด้วยสมุนไพร ทำให้ผมได้รู้ว่า สาเหตุการป่วยมาจากส่วนหนึ่งของเลือดเสีย"

"เป็นการช้ำของการต่อสู้ ซึ่งไม่สามารถจะนำเลือดที่เสียส่วนนี้มาฟอกให้ดีได้ จากการรักษาอยู่ประมาณ 2 ปี ทำให้รู้ว่าเลือดเสีย และไขมันที่ยังคั่งค้างอยู่ที่เป็นกลุ่มก้อนนั้นได้พิสูจน์ออกมาแล้วว่า เป็นส่วนหนึ่งของไขมันและเลือด มีพยานจำนวนมากที่ได้เห็นได้รู้ มีหมอรักษาแผนโบราณอยู่ที่ ต.ตาขวัญ อ.เมือง จ.ระยอง ผมขอเรียกร้องว่า ครั้งหนึ่งผมได้เหรียญทองแดงในปี 2519 และได้รับความช่วยเหลือในปี 2545 ผมกำลังจะหมดลมหายใจ ใครจะช่วยเหลือในเรื่องยา ซึ่งตกเดือนละประมาณ 25,000 บาท และค่าอาหารทางด้านโปรตีน และอื่นๆ ก็ตกเดือนละประมาณ 20,000 บาท" ลงชื่อ พเยาว์ พูนธรัตน์

ด้านนางอดาวัลย์ กล่าวทั้งน้ำตาว่า ที่ผ่านมาได้รับเงินช่วยเหลือจากสมาคมมวยและโอลิมปิก แห่งละ 5 พันบาทเท่านั้น จึงอยากวิงวอนรัฐบาลว่า อาการของ พเยาว์ ไม่ได้เกิดจากการป่วย แต่เป็นเพราะบอบช้ำจากการชกมวยรับใช้ชาติ หากรัฐบาลเล็งเห็นในจุดนี้ก็น่าจะยื่นมือมาช่วยเหลือบ้าง ทุกวันนี้เงินทองที่มีอยู่ก็หมดไปกับการรักษาตัว แถมหมอแผนปัจจุบันก็ยืนยันว่ารักษาไม่ได้ จึงต้องขอความเห็นใจจากสื่อให้ช่วยกระตุ้นรัฐบาลให้ด้วย

ล่าสุดพเยาว์เสียชีวิตอย่างสงบเมื่อเวลา 15:29 น. ของวันที่ 13 สิงหาคม 2549 ที่โรงพยาบาลศิริราช พ้นทรมานจากโรคร้ายไปสบายแล้ว

(เนื้อหาจากข่าว "พเยาว์คั้นหัวใจร้องสื่อ วอนรัฐบาลยื่นมือช่วย ย้ำป่วยหนักเพราะมวย", นสพ.คมชัดลึก ฉบับวันที่ 28 เมษายน 2548, ต้นฉบับภาพประกอบนิตยสารโลกกำปั้น)

Special Article

จากเว็บไซด์ siam-handicrafts.com เนื้อหาบางส่วนจาก นสพ.ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันที่ 11 พฤษภาคม 2548

ตั้งแต่ปี พ
.. 2519 ประเทศไทยไม่เคยห่างหายจากเหรียญรางวัลจากมหกรรมกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติ หรือกีฬาโอลิมปิก ในวันนี้นักกีฬาที่คว้าเหรียญรางวัลกลับมาล้วนแปรเปลี่ยนสถานะจากนักกีฬาธรรมดาเข้าขั้นเศรษฐีกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น สมรักษ์ คำสิงห์, มนัส บุญจำนงค์ หรือ แม้แต่ เยาวภา บุรพลชัย ที่แม้จะคว้าเหรียญทองแดง แต่กลับมีหน้าตาเป็นรูปทรัพย์โกยชื่อเสียงเกียรติยศเงินทองกันเป็นว่าเล่น

แต่หากมองย้อนกลับไปถึงวีรบุรุษเหรียญรางวัลคนแรกที่ประเทศไทยมีมา ย่อมไม่มีใครลืมเลือนชื่อของ
"จ้อน" พเยาว์ พูลธรัตน์

พเยาว์ พูลธรัตน์ หนุ่มน้อยนักชกมวยสากลสมัครเล่นทีมชาติไทย จากอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เกิดเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2499 และเป็นคนบ้านเดียวกับ โผน กิ่งเพชร แชมป์มวยโลกคนแรกของประเทศไทย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ในวัยเด็กของพเยาว์ จะมีฮีโร่คนบ้านเดียวกันอย่างโผนเป็นแม่แบบ พร้อมกับมุ่งมั่นสร้างฝันผลักดันตัวเองไปสู่จุดที่ฮีโร่ในวัยเด็กเคยทำได้

ถึงวันนี้ พเยาว์ พูลธรัตน์ ได้ ก้าวข้ามหลักชัยแห่งความสำเร็จในฐานะนักมวยสมัครเล่นและนักมวยอาชีพมาแล้ว และความสำเร็จนั้นได้ต่อยอดให้ พเยาว์ เปลี่ยนสถานะจากอดีตแชมป์โลกเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ
.. 2544 สังกัดพรรคการเมืองใหญ่อย่างประชาธิปัตย์ แต่ดูเหมือนเส้นทางชีวิตที่ต่อสู้มาด้วยสองกำปั้นของพเยาว์จะสะดุดล้มอย่างไม่เป็นท่า เมื่อเขาต้องพบกันบททดสอบชีวิตครั้งใหญ่หลังป่วยเป็นโรคเอแอลเอส ร่างกายไม่สามารถขยับหรือสื่อสารผ่านคำพูดได้

ชีวิตที่กำลังต่อยอดจากความสำเร็จของพเยาว์ในวันนี้ กลับร่วงลงสู่พื้นดินเช่นเดิม ศักดิ์ศรีในฐานะฮีโร่โอลิมปิก ความภูมิใจในฐานะสมาชิกผู้แทนราษฎรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อันเป็นบ้านเกิด ถึงจุดสิ้นสุดด้วยความรวดเร็ว ถึงวันนี้ พเยาว์ และคนในครอบครัวยังต่อสู้กับชีวิตที่เหลืออยู่แม้ไม่อาจสร้างความภาคภูมิใจให้กับพี่น้องชาวไทยได้เหมือนก่อน แต่ศักดิ์ศรีของอดีตวีรบุรุษโอลิมปิก และแชมป์โลก วันนี้ด้วยชื่อ พเยาว์ พูนธรัตน์ คือความทระนง เดียวที่ทำให้เขายังใช้ชีวิตต่อไปได้

1. ย้อนกลับไปดูปูมหลังของ พเยาว์ พูลธรัตน์ เมื่อครั้งที่ใช้ชื่อ "เพชรพเยาว์ ศิษย์ครูทัศน์" บนสังเวียนมวยไทย ความสามารถและหน่วยก้านประกอบกับลีลาการชกที่ไม่ธรรมดา อีกทั้งยังมีสไตล์การออกหมัดที่เป็นจังหวะจะโคนดีกว่านักมวยไทยคนอื่นๆ จึงเปลี่ยนให้ "เพชรพเยาว์ ศิษย์ครูทัศน์" ก้าวข้ามจากเวทีนักสู้มาสู่สังเวียนมวยสากลสมัครเล่นเต็มรูปแบบ พร้อมพัฒนาลีลาการชกจนได้ติดธงชาติไทยไปชกในกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 21 ปี ค.1976 ณ เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ซึ่งการแข่งขันในครั้งนั้นเป็นการชกในฐานะนักมวยโอลิมปิกเป็นครั้งแรกอีกด้วย

เวลานั้น พเยาว์ หรือจ้อน เพิ่งมีอายุเพียง
19 ปี เรียนชั้นมัธยมปีที่ 5 ที่โรงเรียนการช่างวัดราชสิทธิ อีกทั้งยังเพิ่งหันเหชีวิตมาชกมวยสากลสมัครเล่นได้แค่ 2 ปีเท่านั้น ไม่มีใครคิดว่าเด็กหนุ่มจากบางสะพานจะผ่านเข้ารอบ ลึกๆ ในการแข่งขันชกมวยสากลสมัครเล่นโอลิมปิก ที่อุดมไปด้วยนักชกฝีมือดีมากมาย

การฝ่าฟันสู่เหรียญรางวัลโอลิมปิก เหรียญแรกของคนไทย พเยาว์ ที่ผ่านเข้าสู่รอบ
8 คนสุดท้ายของรุ่นฟลายเวต ต้องไปพบกับกระดูกชิ้นโตอย่าง ยียอง ยีแยโด้ นักชกทีมชาติฮังการี ในยุคสมัยที่ไม่มีการถ่ายทอดสดการแข่งขันผ่านทางโทรทัศน์ บรรดาแฟนมวยชาวไทยจึงต้องนั่งลุ้นอยู่ที่หน้าเครื่องรับวิทยุเพียงอย่างเดียว แม้ประสบการณ์ในเวทีระดับสากลจะมีน้อย แต่นักชกไทยก็สู้ไม่ถอย ซึ่งภายหลัง พเยาว์ ยอมรับว่าขณะชกตอนนั้นไม่คิดอะไรมาก คิดแต่เพียงอยากได้เหรียญรางวัลกลับประเทศไทยเท่านั้น

ด้วยจิตใจที่มุ่งมั่น พเยาว์ คว้าเหรียญทองแดงมาคล้องคอให้คนไทยทั้งประเทศได้ภูมิใจสำเร็จ ยุติการรอคอยเหรียญรางวัลโอลิมปิกเหรียญแรกของคนไทย ซึ่งใช้เวลาถึง 24 ปีหลังส่งนักกีฬาทีมชาติไทยเข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งแรกในปี 1952 ที่เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์

นอกจากการคว้าเหรียญทองแดงของพเยาว์ จะเป็นการประกาศความยิ่งใหญ่ของนักกีฬาไทยคนแรกแล้ว สังเวียนมวยสากลสมัครเล่นของการแข่งขันโอลิมปิกปี
1976 ยังเป็นเวทีแจ้งเกิดของนักชกผู้ยิ่งใหญ่ต่อมาในอนาคตถึง 3 คน นั่นคือ ชูการ์ เรย์ เลียวนาร์ด, ลีออน สปิ๊งค์ส และไมเคิล สปิ๊งค์ส ซึ่งคว้าเหรียญทองมาครอง และต่อมาทั้งหมด ต่างขึ้นครองบัลลังก์แชมป์โลกได้ รวมถึงตัวพเยาว์เองด้วย

2. แน่นอนว่า ความสำเร็จในฐานะนักกีฬาทีมชาติไทยคนแรกที่คว้าเหรียญรางวัลจากการแข่งขันโอลิมปิก จะเป็นความยิ่งใหญ่ชนิดที่เด็กหนุ่มวัย 19 ปีนึกไม่ถึงแล้ว เส้นทางชีวิตต่อจากนั้นของพเยาว์ เปรียบเสมือนกราฟชีวิตที่ไต่ขึ้นสู่ความสำเร็จสูงสุด


หลังชัยชนะในโอลิมปิก พเยาว์กลับมาชกมวยสากลอาชีพอีกหลายรายการ โดยโชว์ฟอร์มได้ดีจนชนะติดต่อกันถึง
8 ไฟต์รวด ก่อนก้าวขึ้นชกชิงแชมป์โลกกับ ราฟาเอล โอโรโน่ ในปี พ.. 2526 และการชกในวันนั้นจบลงด้วยชัยชนะของวีรบุรุษเหรียญทองแดง คว้าแชมป์โลกมาครองได้สำเร็จ

ในฐานะแชมป์โลกพเยาว์ขึ้นป้องกันตำแหน่งอย่างสมศักดิ์ศรีเรื่อยมา จนถึงเวลาหมดวาระของพ่อค้ากำปั้น พเยาว์ต้องยินยอมรับความพ่ายแพ้เมื่อเสียเข็มขัดให้กับ จิโร่ วาตานาเบ้ ที่ประเทศญี่ปุ่น ก่อนหวนคืนสังเวียนอีกครั้ง แต่ก็ต้องพ่ายให้กับนักมวยรุ่นน้องอย่าง ก้องธรณี พยัคฆ์อรุณ ที่สุด พเยาว์ ตัดสินใจอำลาจากลิ่นสาปนวมเมื่อพบว่าวันเวลาของตนเองได้หมดลง

ภายหลังเลิกชกมวย พเยาว์เข้ารับราชการตำรวจจนประดับยศ
"ร้อยตำรวจเอก" ซึ่งหลังจากนั้นก็ลาออกไปทำธุรกิจส่วนตัว ก่อนจะผันตัวมาลงสมัครรับเลือกตั้งได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.. 2544 ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อันเป็นบ้านเกิดในนามพรรคประชาธิปัตย์ นับเป็นเกียรติยศสูงสุดที่เด็กหนุ่มผู้มีความมานะทุ่มเทควรได้รับแล้ว


ก่อนหน้าที่จะลงสู่สนามผู้แทน พเยาว์กล่าวกับคนรอบข้างว่าตลอดการชกมวยสากลที่ผ่านมา กำลังใจที่ได้รับสำหรับตัวเองจนถึงวันนี้ มันไม่ใช่เรื่องเงิน แต่เป็นชื่อเสียง เพราะทุกวันนี้ไม่ว่าจะไปไหน มีคนรู้จักไปทั่วประจวบคีรีขันธ์ อันเป็นต้นทุนทางสังคม ที่ได้เปรียบกว่าผู้สมัครคนอื่นและเป็นสิ่งที่ทำให้เขาตัดสินใจหันมาเอาดีบนสังเวียนการเมือง


3. จากนักมวยไทยสู่นักมวยสากลสมัครเล่น ประสบความสำเร็จในชีวิตสูงสุดด้วยเหรียญทองแดงโอลิมปิกปี 2519 ขึ้นสู่ตำแหน่งแชมป์โลกในปี 2526 เปลี่ยนชีวิตสู่สังเวียนการเมืองในปี 2544 เส้นทางต่อจากนี้ของพเยาว์ น่าจะปูลาดสู่สภาหินอ่อนไปอีกหลายสมัย แต่ใครจะเชื่อว่านักมวยผู้กรำศึกสังเวียนเลือดมาแล้วหลายครั้งต้องพ่ายให้กับมรสุมชีวิตลูกใหญ่กับโรคเอแอลเอสทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ ทุกวันนี้พเยาว์ต้องใช้ชีวิตอยู่บนรถเข็นมาโดยตลอดนับตั้งแต่ปี พ.. 2545

ในการเลือกตั้งใหญ่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2548 ที่ผ่านมา พเยาว์ พูลธรัตน์ ที่ไม่พร้อมจะลงทำหน้าที่เดิมของตน ได้ส่งนางอดาวัลย์ พูลธรัตน์ ผู้เป็นภรรยา ลงรักษาพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เขต 3 ในนามพรรคประชาธิปัตย์แทน แต่คำตอบที่ พเยาว์ ได้รับกลับเป็นการปฏิเสธจากคณะกรรมการบริหารพรรค เนื่องจากต้องการส่งผู้สมัครรายอื่นลงเลือกตั้งแทน

เรื่องดังกล่าวสร้างความไม่พอใจให้กับ นางอดาวัลย์ เป็นอย่างมาก จึงย้ายไปสังกัดพรรคไทยรักไทย พร้อมด้วยสมาชิกพรรคในพื้นที่อีกจำนวนหนึ่ง อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถเบียดเอาชนะผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นนักการเมืองท้องถิ่นได้ จนพ่ายแพ้ไปในที่สุด จากนั้นข่าวความเคลื่อนไหวของทั้งคู่ก็เงียบหายไปจากหน้าสื่อมวลชน


4. วันที่ 27 เมษายน 2548 ในงานมอบรางวัลนักกีฬายอดเยี่ยม ของสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทยนักชกผู้พิชิตเหรียญรางวัลโอลิมปิกคนแรกของไทย ยอมปรากฏกายสู่สาธารณชนเป็นครั้งแรกหลังเก็บตัวอยู่ในบ้านพักทั้งที่กรุงเทพฯ และ บางสะพาน

ในวันนั้นพเยาว์เดินทางมาพร้อมกับ นางอดาวัลย์ พูลธรัตน์ ภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก ในฐานะที่ได้รับรางวัล ทำเนียบเกียรติยศนักกีฬาไทย แม้จะตื้นตันกับเกียรติยศที่ได้รับ แต่พเยาว์ก็ไม่สามารถแม้แต่จะแสดงความยินดีออกทางใบหน้าหรือคำพูดเช่นคนปกติทั่วไป แต่พเยาว์ยังไม่ยอมแพ้ เขาตัดสินใจสู้กับชะตาชีวิตของตนเองอีกครั้ง ด้วยการเขียนหนังสือร้องเรียนโดยใช้ปากคาบหลอดกาแฟแล้วจิ้มไปยังพยัญชนะและสระบนแผ่นกระดาษก่อนหน้าเดินทางมาร่วมงาน โดยมีใจความในเอกสารร้องเรียนว่า

"ผมเป็นโรคเอแอลเอสไม่มีทางรักษาได้ ในอังกฤษมีคนเป็นกันมาก บ้านเราก็เป็นหนึ่งในล้าน ผมโชคไม่ดี อาการของโรคจะมีอาการหายใจติดขัด กินอาหารก็ลำบาก มีอาการสำลักตลอดเวลา ทุกวันผมต้องต่อสู้กับโรคที่เป็นอยู่ ทุกวันนี้ผมเดินไม่ได้ แขนขาขยับไม่ได้ แต่ความจำและสมองของผมยังดีอยู่ ขอให้รัฐบาลจัดงานวิจัย จัดงบประมาณให้มากกว่านี้"

"ผลมาจากอาการบอบช้ำของการต่อสู้ ซึ่งไม่สามารถจะนำเลือดที่เสียส่วนนี้มาฟอกให้ดีได้ จากการรักษาอยู่ประมาณ 2 ปี ทำให้รู้ว่าเลือดเสีย และไขมันที่ยังคั่งค้างอยู่ที่เป็นกลุ่มก้อนนั้นได้พิสูจน์ออกมาแล้วว่า เป็นส่วนหนึ่งของไขมันและเลือด มีพยานจำนวนมากที่ได้เห็นได้รู้ มีหมอแผนโบราณรักษาอยู่ที่ตำบลตาขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ผมขอเรียกร้องว่า ครั้งหนึ่งผมได้เหรียญทองแดงในปี พ.. 2519 และได้รับความช่วยเหลือในปี พ.. 2545 ผมกำลังจะหมดลมหายใจ ใครจะช่วยเหลือในเรื่องยา ซึ่งตกเดือนละประมาณ 25,000 บาท และค่าอาหารทางด้านโปรตีน และอื่นๆ ก็ตกเดือนละประมาณ 20,000 บาท"

ขณะเดียวกัน นาง อดาวัลย์ พูลธรัตน์ ภรรยาของวีรบุรุษชาวไทย ระบายความในใจขณะที่น้ำตานองหน้าว่า
ที่ผ่านมาได้รับเงินช่วยเหลือจากสมาคมมวยและโอลิมปิก แค่เพียงหน่วยงานละ 5 พันบาทเท่านั้น จึงอยากวิงวอนรัฐบาลว่าอาการของพี่พเยาว์ ไม่ได้เกิดจากการป่วย แต่เป็นเพราะบอบช้ำจากการชกมวยรับใช้ชาติ หากรัฐบาลเล็งเห็นในจุดนี้ก็น่าจะยื่นมือมาช่วยเหลือบ้าง

ความเดือดร้อนของครอบครัวพูลธรัตน์ยังคงมีมาอย่างต่อเนื่อง จากเงินทองที่เคยมีเหลือเก็บ ปัจจุบันก็ถูกนำไปใช้รักษาอาการป่วยของหัวหน้าครอบครัวจนหมด โดยนางอดาวัลย์กล่าวว่า ทุกวันนี้เงินทองที่มีอยู่ก็หมดไปกับการรักษาตัวพี่พเยาว์ แถมตอนนี้ไปหาหมอแผนปัจจุบันที่ไหนก็ยืนยันว่ารักษาไม่ได้แล้ว จะไม่หายแล้ว จึงต้องขอความเห็นใจจากสื่อให้ช่วยกระตุ้นรัฐบาลให้ด้วย ว่าคนเคยรับใช้ชาติไม่ควรจะมีสภาพแบบนี้


อย่างไรก็ตาม ภรรยาคู่ทุกข์ของ พเยาว์ ยืนยันว่าการเรียกร้องผ่านสื่อไม่ใช่การเรียกร้องความสงสารจากใคร แต่ต้องการให้ผลของการสร้างผลงานของสามีตอบแทนกลับมาเป็นความช่วยเหลือกับชีวิตของ พเยาว์ ในวันนี้บ้าง

เพื่อเป็นเกียรติประวัติให้กับพเยาว์ และถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังได้รับทราบถึงผลงาน และความสามารถของนักชกเหรียญทองแดงโอลิมปิกคนแรกของประเทศไทย

นอกจากนี้ นางอดาวัลย์ พูลธรัตน์ ตั้งใจจะพิมพ์หนังสือขึ้นมา
1 เล่ม ในโอกาสครบรอบ 30 ปี ที่ พเยาว์ พูนธรัตน์ คว้าเหรียญทองแดงมาให้ประเทศไทยด้วยโดยกล่าวว่า เราตั้งใจจะทำหนังสือขึ้นมาสักเล่มในโอกาสครบรอบ 30 ปีที่พี่พเยาว์เอาเหรียญทองแดงโอลิมปิกมาให้ประเทศไทย สร้างชื่อเสียงให้คนทั้งโลกรู้จักประเทศไทย และพี่อยากจะทำตรงนี้ให้พี่พเยาว์

ถึงวันนี้เชื่อว่า พเยาว์ พูลธรัตน์ คงไม่ต้องการอนุสาวรีย์ เหมือนที่ โผน กิ่งเพชร ได้รับ สิ่งที่ต้องการในวันนี้คือการมีชีวิตอยู่ต่อไป เพื่อครอบครัว ในฐานะสื่อ ทีมข่าวกีฬาผู้จัดการรายวัน ถือว่าได้ทำหน้าที่ในการเผยแพร่ข่าวความเคลื่อนไหว ของอดีตความภาคภูมิใจของอดีตฮีโร่ โอลิมปิกอย่างเต็มที่แล้ว

สิ่งที่ทำให้ พเยาว์ ยังต่อสู้กับชีวิตที่เหลืออยู่ต่อไปได้ นั้นคือความภาคภูมิใจในฐานะที่ครั้งหนึ่งได้ทำให้คนไทย โห่ร้องอย่างปิติยินดีด้วยชัยชนะในเวทีกีฬาโลกอย่างโอลิมปิก หากวันนี้คุณค่าของความเป็นมนุษย์ปุถุชนคนหนึ่งของพเยาว์ อาจถูกตีราคาด้วยตัวเลขที่ติดลบ แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าครั้งหนึ่งยอดนักชกผู้นี้ได้เคยสร้างคุณค่าของตนเองจากอดีตนักมวยไทยค่าตัวไม่กี่สิบบาท จนก้าวมาเป็นฮีโร่โอลิมปิก เกียรติยศ ไม่สามารถประเมินเป็นตัวเลขได้ และเป็นสิ่งสุดท้ายที่ พเยาว์ พูลธรัตน์ ต้องการจากคนไทย ก่อนที่ลมหายใจของเขาจะหมดลง


Special Article

พเยาว์สุดปลื้มวีระพลควงเด่นเข้าเยี่ยม


จากเว็บไซด์
siamsport.com วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549

พเยาว์ พูนธรัตน์ สุดปลื้มหลัง "เสี่ยฮุย" สุชาติ พิสิฐวุฒินันท์ พร้อม 2 นักชกขวัญใจชาวไทย รุ่นน้อง วีระพล นครหลวงโปรโมชั่น และ เ ด่น จุลพันธ์ รุดเยี่ยมและมอบเงินช่วยเหลือ ซึ่งวีระบุรุษโอลิมปิก สามารถอ้าปากรับรู้และพยักหน้ารับคำจะสู้ต่อไปไม่ยอมแพ้แน่ ด้านวีระพล วอนทุกฝ่ายช่วยเหลือวีรบุรุษของชาติเป็นการด่วน

เมื่อเวลา 13.30 น. วันอังคารที่ 21 ก.พ. ที่ผ่านมา วีระพล นครหลวงโปรโมชั่น อดีตแชมป์โลกรุ่นแบนตั้มเวต
WBC 2 สมัย และ WBA และ เด่น จุลพันธ์ แชมป์โลกรุ่น 105 ปอนด์ WBC 2 สมัย พร้อมด้วย "เสี่ยฮุย" สุชาติ พิสิฐวุฒินันท์ เข้าเยี่ยม พเยาว์ พูลธรัตน์ อดีตนักชกเหรียญทองแดงโอลิมปิก คนแรกของไทย และอดีตแชมป์โลกรุ่น 115 ปอนด์ WBC ที่ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อเสื่อม นอนพักรักษาตัวมาหลายปีแล้วที่ตึก 84 ปี โรงพยาบาลศิริราช โดยอดีตนักชกฮีโร่ อลป. ไทย ซาบซึ้งใจเป็นอย่างมากที่มีคนเหลียวแล

ด้าน "เสี่ยฮุย" ได้นำกระเช้าดอกไม้เยี่ยมพร้อมกับแจ้งคุณ ลัดดาวัลย์ พูนธรัตน์ ภรรยาคู่ใจว่าได้นำเงินจากการจัดมวยที่ท่าน้ำนนท์ เมื่อ 17 ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งรวบรวมได้กว่า 400,000 บาท และตอนนี้ ส.ส. ภิญโญ นิโรจน์ ได้รวบรวมมาฝากไว้กับทางการกีฬาแห่งประเทศไทย แล้ว ซึ่งทาง นางลัดดาวัลย์ ก็เผยว่า ได้รับเงินจำนวนดังกล่าวแล้ว

จากนั้น "เสี่ยฮุย" ได้พูดคุยกับ พเยาว์ ที่น้ำตานองหน้าว่า
"จำพวกผมได้ไหมที่มาเยี่ยมถ้าจำได้ให้หลับตา" พเยาว์ ก็หลับตา จากนั้น "เสี่ยฮุย" ถามว่า "ดีใจไหม ถ้าดีใจให้อ้าปาก" พเยาว์ ก็อ้าปาก ซึ่งทาง คุณลัดดาวัลย์ ถึงกับตะลึงเพราะที่ผ่านมา พเยาว์ แทบจะขยับปากไม่ได้เลย


และในตอนท้าย "เสี่ยฮุย" ถามว่า "จะสู้ต่อไหม ถ้าสู้ให้พยักหน้า" พเยาว์ ก็พยักหน้าอย่างหนักแน่น ครอบครัว พูลธรัตน์ ถึงกับแสดงอาการดีใจอย่างเห็นได้ชัด รวมทั้งแชมป์โลกรุ่นน้องอย่าง วีระพล และ เด่น ต่างก็รู้สึกศรัทธาในความใจสู้ของแชมป์โลกรุ่นพี่เป็นอย่างมาก

โดย วีระพล เผยว่า "อยากให้สังคมไทย เหลียวแลอดีตคนที่เคยทำชื่อเสียงให้ประเทศไทย มากกว่านี้
โดยเฉพาะนักมวยที่ต้องแลกความสำเร็จด้วยหยาดเหงื่อแรงกาย และมักจะมีปั้นปลายชีวิตที่เป็นเช่นนี้หลายคน"

สำหรับอาการคืบหน้าของ พเยาว์ นั้น ทาง คุณลัดดาวัลย์ เผยว่า
"แพทย์ที่ดูแลอาการของ พเยาว์ อยู่อย่างใกล้ชิดบอกว่าอาการตอนนี่ก็มีแต่ทรงกับทรุด แต่ครอบครัวก็จะดูแลอย่างถึงที่สุด ดีใจมากที่สังคมไทย ยังให้ความสนใจดูแลอยู่"